รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Main Article Content

นายพิทักษ์ สมพร้อม

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 การวิจัยดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาความต้องการบริหารจัดการ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 พบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูโรงเรียนขนาดเล็ก มีความต้องการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยรูปแบบ มีสาระสำคัญ 7 ด้าน

  2. รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ[1]เรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 พบว่า มีสาระสำคัญ 7 ด้าน คือ 1) การกำหนดนโยบาย 2) การบูรณาการหลักสูตร 3) การจัดหาสื่อและอุปกรณ์ 4) การจัดการเรียนรู้คู่คุณธรรม 5) การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 6) การนิเทศติดตาม 7) การประเมินเพื่อพัฒนา โดยมีองค์ประกอบหลัก 5 ประการ คือ

1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญ 4) แนวทางสู่การปฏิบัติ 5) เงือนไขความสำเร็จ


  1. สถานศึกษาดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

  2. โรงเรียนที่เป็นหน่วยทดลองนักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ (ONET) เฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในระดับมากที่สุด

 

Article Details

How to Cite
สมพร้อม น. (2019). รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(1), 62–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/165461
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ
: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คำดี จันทะเกษ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาโดยบูรณาการปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารและพัฒนาการศึกษา) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุดมศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย. รายงานการวิจัยทุนนวมินทร์.
กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
โชติกา วรรณบุรี. (ธันวาคม 2560-มกราคม 2561). “สภาวะการศึกษาไทยปี ๒๕๕๙/๒๕๖๐ แนวทางการปฏิรูป
การศึกษาไทย เพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐” วารสารการศึกษาไทย. 15(142) : 7-11.
ธีระ รุญเจริญ .(2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ : ข้างฟ่าง.
พรทิพย์ เบาสูงเนิน. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2553). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยสู่สากล : เปรียบเทียบประเทศจีน
เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน ฟินแลนด์และประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) .(2560). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559. (ออนไลน์). สืบค้นจาก
http://www.newonetresult.niets.or.th/Announcement Web/PDF/ Summary_ 2559.
pdf. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2560.
สุรินทร์ ภูสิงห์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
(การบริหารและพัฒนาการศึกษา) มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Herzberg, F. and Mausner, B. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley.
Liu, Y.Y. (2014). Research on the Chinese Characteristic Socialism Development Pattern.
Thesis of Doctor of Philosophy. China : LanZhou University.