การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

พูชัยชนะ พะสวัสดิ์
สุเทพ การุณลัญจกรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินแนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาการให้บริการของบุคลากร ในองค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนี้ บุคลากรส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ ขาดการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ขาดการศึกษาดูงาน และขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ปฏิบัติและสภาพการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน ได้แก่ 1) คู่มือในการพัฒนา 2) การระดมสมอง 3) การพัฒนาสื่อสาร

4) การศึกษาดูงาน และ 5) การประชุมเชิงปฏิบัติการ


  1. แนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน โดยการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 5 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการให้บริการความเสมอภาค มี 5 แนวทาง

2) ด้านการให้บริการมีความเพียงพอ มี 4 แนวทาง 3) ด้านการให้บริการแบบตรงต่อเวลา มี 4 แนวทาง 4) ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง มี 3 แนวทางและ 5) ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า มี 2 แนวทาง


            3. การประเมินแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
พะสวัสดิ์ พ., & การุณลัญจกรณ์ ส. (2018). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 13(2), 61–69. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/164082
บท
บทความวิจัย

References

1. จุฑามาส แสงอาวุธและพรนิภา จินดา. (2551). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. เฉลียว บุรีภักดี. (2543). ทฤษฎีระบบ. เพชรบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.

3.วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ. (2546). การวางแผนกลยุทธ์ ศิลปะการกำหนดแผน องค์กรสู่ความเป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.

4.สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2557). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

5.วีรพงษ์ เฉลิมจิรรัตน์. (2543). คุณภาพในงานบริการ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.

6.สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดไม่ลับการตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยูบีซีแอลบุ๊คส์.

7.mรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2000). รัฐธรรมนูญ. นครหลวงเวียงจันท์: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

8.ระเบียบการของการบริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. (2005). นครหลวงเวียงจันท์: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

9.อุบลรัตน์ จันทร์เมือง. (2555). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง. วารสารประชาสัมพันธ์วิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง. 1(2), 20-44 .