กลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาที่สอดคล้องกับ การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

ณัฏฐกันย์ ใจกันทา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศการศึกษา เหตุปัจจัยที่สนับสนุนและฉุดรั้งที่มีผลต่อการนิเทศการศึกษาและเสนอกลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  ผลการวิจัยพบว่า


            สภาพการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่ 4 ด้าน ด้านประสิทธิผลการดำเนินการในแผนการนิเทศมีคุณภาพอยู่ในระดับดี ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการการนิเทศต่อทุกงานอยู่ในระดับปานกลาง การวางแผนงานโครงการและกิจกรรมการนิเทศ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และการพัฒนาศึกษานิเทศก์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศอยู่ในระดับดี


             เหตุปัจจัยสำคัญที่เป็นปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยฉุดรั้งที่มีผลต่อสภาพการดำเนินการนิเทศ
มี 6 ปัจจัย ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ การบริหารจัดการ วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา


            กลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2560–2562 ได้แก่ การปรับกระบวนทัศน์การทำงานของศึกษานิเทศก์ การยกระดับความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การเร่งรัด ปรับปรุงและพัฒนาระบบการนิเทศติดตาม ตรวจสอบ และการส่งเสริมและเพิ่มเครือข่ายการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

Article Details

How to Cite
ใจกันทา ณ. (2018). กลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาที่สอดคล้องกับ การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 13(2), 47–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/164079
บท
บทความวิจัย

References

1.จำลอง ทิ้งสุข. (2550). รูปแบบการตัดสินใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

2.นิตย์รดี ใจอาษา. (2555). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อกระบวนการบริหารจัดการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

3.เพ็ญวิภา พรหมสุวรรณ์. (2557). อนาคตภาพของการนิเทศการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2556 - 2565). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม. 9(3) : 91-100.

4.วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สําหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

5.สาคร คำแสน. (2550). การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 . วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทายาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

6.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชียงราย เขต 3. (2556). รายงานผลการจัดการศึกษาปีการศึกษา 2555. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชียงรายเขต 3.

7.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

8.สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2558). ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ NT ปีการศึกษา 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.