การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเพื่อสนับสนุนการนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ ของตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย และบ้านจุ๊บโกกี อำเภอบันเตียอำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา

Main Article Content

วริษฐ์ กิตติ์ธนารุจน์
ชลาวัล วรรณทอง

บทคัดย่อ

การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเพื่อสนับสนุนการนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ของตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย  และบ้านจุ๊บโกกี  อำเภอบันเตียอำปึล จังหวัดอุดรมีชัย  ประเทศกัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บในการนำเสนอฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่ศึกษา สำหรับวิธีดำเนินการวิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการสำรวจข้อมูล ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม สถานีบริการน้ำมันร้านอาหารผลิตภัณฑ์ชุมชน สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน และสถานที่อื่นๆ จากนั้นสร้าง โปรแกรมประยุกต์บนเว็บโดยใช้ภาษา PHP JavaScript และ SQL เป็นภาษาหลักสำหรับการจัดทำระบบฐานข้อมูลแผนที่บนเว็บ ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี มีข้อมูลดังนี้ แหล่งท่องเที่ยวจำนวน 3 แห่ง โรงแรมจำนวน 1 แห่ง สถานีบริการน้ำมันจำนวน 6 แห่ง ร้านอาหารจำนวน 71 แห่งผลิตภัณฑ์ชุมชนจำนวน 2 แห่ง สถานที่ราชการจำนวน 7 แห่ง วัดจำนวน 12 แห่ง โรงเรียนจำนวน 8 แห่ง และสถานที่อื่นๆ จำนวน 29 แห่ง สำหรับโปรแกรมโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งานได้ทันที ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล ได้อย่างอิสระ โดยผลการประเมินความพึงพอใจของโปรแกรมประยุกต์บนเว็บทุกประเด็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด

Article Details

How to Cite
กิตติ์ธนารุจน์ ว., & วรรณทอง ช. (2018). การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเพื่อสนับสนุนการนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ ของตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย และบ้านจุ๊บโกกี อำเภอบันเตียอำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 13(2), 31–46. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/164077
บท
บทความวิจัย

References

1.กิติมา กิจประเสริฐ. (2551). เว็บไซต์สารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานการวิจัย. วิทยาการคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

2.อสมท จำกัด (มหาชน). (2557). วอน คสช. ยกระดับช่องสายตะกูเป็นจุดผ่านแดนถาวร. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mcot.net/site/content?id= 53dc6960be 047027258 b456f#.VH71yNKsWSo. (วันที่ค้นข้อมูล 3 กุมภาพันธ์ 2558).

3.บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

4.มหานครอาเซียน. (2557). ด่านช่องสายตะกู-บุรีรัมย์ ประตูค้าชายแดนน้องใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.uasean.com/kerobow01/1261. (วันที่ค้นข้อมูล 3 กุมภาพันธ์ 2558).

5.เสรี ศรีหะไตร. (2557). เปิด “ช่องสายตะกู” บุรีรัมย์แล้ว ปชช.แห่ซื้อขายสินค้า เขมรเร่งผุดกาสิโนยักษ์ติดชายแดนไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/local/ detail/9570000066889. (วันที่ค้นข้อมูล 3 กุมภาพันธ์ 2558).