ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการ

Main Article Content

วัศยา หวังพลายเจริญสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ   2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ จำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการศึกษาพบว่า ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พบว่า ปัจจัยด้านบุคลิกภาพและปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงานสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมของบุคลากรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 47.9

Article Details

How to Cite
หวังพลายเจริญสุข ว. (2018). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 13(2), 19–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/164030
บท
บทความวิจัย

References

1. กัญจนา กัญจา. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

2. ชีวภาส ทองปาน. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงาน ในบริษัทผลิตวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุสากรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การจัดกลุ่มอุตสากรรมและหมวดธุรกิจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.set.or.th/th/regulations/simplified regulations/industry _sector_p1.html. (วันที่ค้นข้อมูล 3 มีนาคม 2560)

4. ธนสิทธิ์ จันทร์ปลูก. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานคนไทย ในบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุสากรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5.ธีรพงศ์ โพธิ์เจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กรณีศึกษาสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

6. รัตนา เลี้ยงพาณิชย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานระดับปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุสากรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

7. วัลลพ ล้อมตะคุ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ขององค์การ ของพนักงานสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

8. Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

9. Dubin, A. J. (2000). Applying Psychology: Individual Organizational Effectiveness. New Jersey : Prentice-Hall.

10. Farh, J.L., Zhong C.B., and Organ, D.W. (2004). “Organizational Citizenship Behavior in the People’s Republic of China”. Organization Science. 15 (2) : 241-253.

11. Gilmer, B.V. (1966). Applied Psychology : Problems in Living and Work. New York: McGraw Hill Book Company.

12. Howard, P. J. and J. M. Howard. (1995). The Big Five Quick start: An Introduction to The Five Factor Model of Personality for Human Resource Professionals. Retrieved January 12, 2018. From www.eric.ed.gov.

13. Mowday, R.T., Porter, L.W., & Steers, R.M. (1982). Employee organization linkages: The psychology of commitment, absenteeism, and turnovre. San Diego, CA : Academic Press.

14. Organ, D. W. (1987). Organizational Citizenship Behavior: The good soldier syndrome. Massachusetts : Heath & Company.

15. Robbins, S.P. (2003). Essentials of Organizational Behavior. 7th ed. New Jersey : Prentice – Hall, Inc.