ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • ธัญญารัตน์ จันทรเสนา, จารุวรรณ สกุลคู และ อรรณพ โพธิสุข

Keywords:

ความเครียด

Abstract

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้น  ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 4 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านทักษะในการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียน และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน และเปรียบเทียบความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้น ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมและในแต่ละด้าน จำแนกตาม เพศ กลุ่มคณะวิชา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภูมิลำเนา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างนิสิตกับเพื่อนและการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรและองครักษ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ปีการศึกษา 2554 จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 62 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD.

   ผลการวิจัยพบว่า

1.  นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความเครียดโดยรวมและในแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลาง

2.  นิสิตชายและนิสิตหญิง มีความเครียดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความแตกต่าง

3.  นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนเมืองและนอกชุมชนเมือง มีความเครียดโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4.  นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ศึกษากลุ่มคณะวิชาต่างกัน มีความเครียดโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5.  นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความเครียดของนิสิตด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

6.  นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวต่างกัน มีความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความเครียดของนิสิตด้านทักษะในการเรียนและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

7.  นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีสัมพันธภาพระหว่างนิสิตกับเพื่อนต่างกัน มีความเครียดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความเครียดของนิสิตด้านทักษะในการเรียนและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

8.  นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองต่างกัน มีความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความเครียดของนิสิตด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

  คำสำคัญความเครียด

 

  Abstract

  The purposes of this research were 1) to investigate the stresses of freshmen at Srinakharinwirot  University relating to four aspects: learning management, study skills, learning environment, and relationship with classmates; and 2) to compare their stresses regarding gender, class levels, grade  point average, birth place, family economic status, the interpersonal relationship between students, and upbringing. The sample consisted of 358 first year undergraduate students during the first semester of the academic year 2009. The instrument was a five rating scale questionnaire of 62 items within the reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance, and LSD for multiple comparisons analysis.

  The results of the study revealed that overall, with regards to the four aspects, the stresses were at a moderate level. However, regarding the seven results, tests by multiple comparisons indicated:

  1. Overall, it was significant at .05 level regarding genders in all four aspects; however, it was significant regarding the aspect of learning environment.

  2. It was not significant concerning birth place overall or in particular aspect of stresses.

  3. It was not significant regarding different major groups.

  4. Overall, it was not significant regarding grade point average, but it was significant regarding relationship with classmates.

  5. Overall, it was not significant regarding family economic status; in contrast, it was significant at .05 level regarding study skills and relationship with classmates.

  6. Overall, it was not significant regarding interpersonal relationship patterns, but it was significant concerning the aspect of study skills and relationship with classmates.

  7. Overall, it was not significant regarding upbringing styles, but it was significant regarding the aspect of learning environment

  Keyword:  Stress

Downloads

How to Cite

จารุวรรณ สกุลคู และ อรรณพ โพธิสุข ธ. จ. (2015). ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(2), 139–158. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29302

Issue

Section

Original Articles

Similar Articles

1 2 > >> 

You may also start an advanced similarity search for this article.