ตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
การพัฒนาAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคุณค่าการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างประสิทธิภาพการทำงาน กับปัจจัยคุณค่าการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร 4) ศึกษาปัจจัยคุณค่าการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร 5) สร้างตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 371 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้กำหนดนโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน จำนวน 6 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับบริการ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ .9730 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ โดย LSD การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สัมพันธ์ และการวิเคราะห์พหุถดถอย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยคุณค่าการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับแรกคือ ด้านสมรรถนะการทำงาน รองลงมาคือ ด้านจริยธรรมองค์การ ด้านภาวะผู้นำหัวหน้าหน่วยงาน ด้านนโยบายองค์การ ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ด้านวัฒนธรรมองค์การ และด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ตามลำดับ ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับแรกคือ ด้านการสื่อสาร รองลงมาคือ ด้านการใช้ทรัพยากร ด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลง การจัดการกระบวนการ และด้านการบรรลุเป้าหมาย ตามลำดับ
2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ที่มีเพศ และหน่วยงานที่สังกัด ต่างกัน มีระดับประสิทธิภาพการทำงาน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ไม่แตกต่างกัน ทั้งภาพรวมและรายด้าน ส่วนบุคลากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ และสถานะการในการทำงานต่างกัน มีระดับประสิทธิภาพการทำงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01
3. ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยคุณค่าการทำงาน กับ ประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ พบว่า มีความสัมพันธ์กันในทุกด้าน ในภาพรวมปัจจัยคุณค่าการทำงานในทุกด้านมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานในระดับ 0.723 ส่วนในรายด้านพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ เป็นอันดับแรก รองลงมาเป็น ด้านสมรรถนะการทำงาน ด้านภาวะผู้นำหัวหน้าหน่วยงาน ด้านจริยธรรมองค์การ ด้านนโยบายองค์การ ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านวัฒนธรรมองค์การ ตามลำดับ
4. ปัจจัยคุณค่าการทำงาน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร คือ สมรรถนะการทำงาน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ภาวะผู้นำหัวหน้าหน่วยงาน และนโยบายองค์การ
5. ตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะดังนี้
คำสำคัญ : การพัฒนา
Abstract
The objectives of this research were as follows : 1) to study work value factors and work efficiency ofthe academic supporting personnel of Rajabhat Universities in Bangkok metropolitan area, 2) to compare workefficiency of the academic supporting personnel with different personal characteristics, 3) to analyze therelationships between work value factors and work efficiency of the academic supporting personnel of Rajabhatuniversities in Bangkok metropolitan area, 4) to study value factors affecting work efficiency of the academicsupporting personnel of Rajabhat universities in Bangkok metropolitan area, and 5) to develop a model of workefficiency for the academic supporting personnel of Rajabhat universities in Bangkok metropolitan area. Theresearch data were collected from the sample of 371 academic supporting personnel of Rajabhat universities viathe use of a questionnaire, from 6 policy determiners on development of work efficiency via in-depthinterviews, and from 12 service receivers via in-depth interviews. The data collecting instrument was aquestionnaire on the model of work efficiency development for the academic supporting personnel of Rajabhatuniversities in Bangkok metropolitan area, developed by the researcher, with Cronbach’s Alpha coefficient of0.973. Statistics used in this study for data analysis were the percentage, mean, standard deviation, one-wayANOVA, LSD pair-wise comparison method, and multiple regression analysis.The research findings were as follows :
1. The overall work value factor of the academic supporting personnel of Rajabhat universities wasat the high level. When each factor was considered, it was found that the highest factor was work competency,followed by organizational ethics, organizational leadership, organizational policy, learning environment,organizational culture, and quality of work life, respectively. The overall work efficiency of the academicsupporting personnel of Rajabhat universities was also at the high level. When each aspect of work efficiencywas considered, it was found that the highest aspect was communications, followed by resource utilization,change management, process management, and goal achievement, respectively.
2. The hypothesis testing results revealed that the academic supporting personnel with differentgenders and work agencies did not differ in both overall and by-aspect work efficiencies in Rajabhat universities;while personnel with different ages, educational levels, work experiences, and work statuses differedsignificantly at the .05 and .01 levels in work efficiency in Rajabhat universities.
3. Regarding the relationships between work value factors and work efficiency of academic supportingpersonnel, significant relationships were found in every aspect. The correlation coefficient between theoverall work value factors and the overall work efficiency was 0.723. When considered by aspect, it was foundthat the learning environment aspect had the highest correlation coefficient, followed by the work competencyaspect, the organizational leadership aspect, the organizational ethics aspect, the quality of work life aspect, and the organizational culture aspect, respectively.
4. The work value factors affecting work efficiency of the academic supporting personnel ofRajabhat universities in Bangkok metropolitan area were work competency, learning environment, organizationalleadership, and organizational policy. The regression equation for predicting work efficiency was thefollowing :Y = 1.44 + 0.220 X3 + 0.246 X1 + 0.117 X6 + 0.057 X4Whereas, Y = Work efficiencyX1 = Work competencyX3 = Learning environmentX4 = Organizational leadershipX6 = Organizational policy5. The model of work efficiency development for academic supporting personnel of Rajabhat universitiesin Bangkok metropolitan area is shown below :
Keywords : Development, Efficiency, Rajabhat University