รูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์
Keywords:
รูปแบบ, การบริหารสถานศึกษาแบบแฟรนไชส์, การศึกษาปฐมวัย, Model, Management of Educational Franchises, Early Childhood EducationAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา แบบอย่างที่ดีในการบริหารสถานศึกษาแบบแฟรนไชส์ 2) เสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ 3) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาแบบอย่างที่ดีในการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบ แฟรนไชส์ 2) ขั้นการร่างรูปแบบการบริหาร สถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ 3) ขั้นการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยการจัดสัมมนาผู้ทรง คุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง และ 4) ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบันใน การบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงคุณภาพในการศึกษาแบบอย่างที่ดีในการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ ได้แก่ ผู้บริหารของสถานศึกษาหรือสถานประกอบการที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารสถานศึกษาหรือสถานประกอบการแบบ แฟรนไชส์จำนวน 5 กรณีศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ จำนวน 6 ท่าน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ จำนวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์และ การสัมมนาโดยใช้ประเด็นคำถามในการสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ จำนวน 290 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลจากการศึกษาแบบอย่างที่ดีพบว่า สถานศึกษาหรือสถานประกอบการที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีกระบวนการ ขยายสถานศึกษาหรือสถานประกอบการแบบแฟรนไชส์ที่สำคัญทั้งหมด 6 ขั้น คือ 1) การสำรวจความเป็นไปได้ เบื้องต้น 2) การตัดสินใจขยายสาขาหรือขายสิทธิ์ 3) การจัดเตรียมบุคลากรและสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 4) การดำเนินการ ในสาขาใหม่ 5) การปรับปรุง / พัฒนา / จัดระบบการดำเนินงาน 6) การติดตามและประเมินผล โดยมีการรักษา คุณภาพของการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ 2 ส่วน คือ การรักษาคุณภาพของชื่อสถานศึกษาและ การบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ส่วนนำ 2) กระบวนการขยายสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ 3) การบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ อย่างมีคุณภาพ และ 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 3. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยแบบแฟรนไชส์ในภาพรวมพบว่า สถานศึกษามีการ ปฏิบัติในระดับมากทุกขั้นตอน เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนพบว่า ปฏิบัติได้มากอันดับแรกคือ ขั้นการตัดสินใจขยายสาขา หรือขายสิทธิ์ รองลงมาคือ ขั้นการสำรวจความเป็นไปได้เบื้องต้นและขั้นการจัดเตรียมบุคลากรและสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนขั้นตอนที่ปฏิบัติได้มากเป็นอันดับสุดท้ายคือ ขั้นการปรับปรุง / พัฒนา / จัดระบบ การดำเนินงาน
คำสำคัญ : รูปแบบ, การบริหารสถานศึกษาแบบแฟรนไชส์, การศึกษาปฐมวัย
Abstract
This research aimed 1) to examine cases which were successful in managing early childhood educational franchises, 2) to propose a management model for the franchises, and 3) to study the current state of franchise management. The research procedures included 1) studying successful cases in managing educational franchises, 2) drafting a management model, 3) determining the feasibility of the model by gathering opinions from scholars, experts and others in the educational field, and 4) examining the current state of franchise management. The successful cases studied in this research included five franchise administrators who were regarded as successful in management. Six scholars validated the draft of the model for practicality and feasibility. Furthermore 23 seminar participants provided feedback regarding the model via both interviews and discussions. The current state of franchise management was studied quantitatively. Data were collected from 290 franchise administrators by a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics (frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation) and content analysis.
The results of the study were as follows.
1. The organizational expansion of successful franchises included six necessary steps. They were: 1) to explore the primary feasibility, 2) to decide to expand the branches or to resell the franchise rights, 3) to prepare human resources and related matters, 4) to open and operate new branches, 5) to improve, develop and organize the operations, and 6) to follow up and evaluate the process. The quality control included maintaining the franchises’ reputation and the quality of management.
2. The suggested model consisted of four main parts, which were 1) introduction, 2) a procedure for expanding the organization, 3) a procedure for quality management and 4) conditions for model implementation.
3. The study of the current state of the franchise management indicated that the franchises previously studied had generally followed the practice of successful franchises. The step that was practiced the most by franchise management was the decision to expand the branches or to resell the franchise rights. The step that was practiced the least by franchise management was to improve, develop and organize the franchise operations.
Keywords : Model, Management of Educational Franchises, Early Childhood Education