ความสัมพันธ์ของจิตสำนึกผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา ของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Authors

  • วิบูลย์ชัย คงศรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Keywords:

ความสัมพันธ์ของจิตสำนึกผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจิตสำนึกผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต2 2)เพื่อศึกษาระดับจิตสำนึกผู้บริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร  เขต 2  ในภาพรวม 3)เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร  เขต 2  ในภาพรวม 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับจิตสำนึกผู้บริหารกับการบริหารวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร  เขต 2 ตามวุฒิการศึกษา  จำแนกเป็นระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี 5) เพื่อเปรียบเทียบระดับจิตสำนึกผู้บริหารกับการบริหารวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร  เขต 2 ตามประสบการณ์  จำแนกเป็นประสบการณ์มากและประสบประการณ์น้อย

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 252 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน100 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้คือ     ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที และค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของจิตสำนึกผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การในระดับสูงมาก 2) ระดับจิตสำนึกของผู้บริหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ระดับการบริหารวัฒนธรรมองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผู้บริหารที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีระดับจิตสำนึกสูงกว่าปริญญาตรีและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5) ผู้บริหารที่มีประสบการณ์มากมีระดับจิตสำนึกสูงกว่าประสบการณ์น้อยและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : ความสัมพันธ์ของจิตสำนึกผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การ

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the general consciences of the administrators of public secondary schools in Bangkok Educational Area 2, 2) to study the organizational cultures of the schools in general, 3) to study the relationship of the administrators’ consciences and the school’s organizational culture, 4) to compare the administrators’ consciences and management of organizational culture based on their educational backgrounds, and 5) to compare the administrators’ consciences and management of organizational culture based on their experiences.

The participants were 252 schools administrators who were chosen by simple random sampling. The research instrument was the 5-point Likert scale questionnaire which consisted of 100 items (reliability = .91). Data were analyzed by descriptive statistics (percentage, arithmetic mean, and standard deviation), t-test and Pearson product-moment correlation coefficient.

The research findings revealed that:

1. the administrators’ general consciences were at a high level;

2. the organizational culture in general was at a high level;

3. the administrators’ general consciences were highly correlated with the organizational culture;

4. the administrators who held master’s degree or higher had general consciences higher than the administrators who held bachelor’s degree, but the difference was statistically insignificant; and

5. the administrators who had more experience had general consciences higher than the administrators who had less experience, but the difference was statistically insignificant.

Keywords : The Relation of Administrator’s Conscience and Cultural Organization

 

Downloads

How to Cite

คงศรี ว. (2013). ความสัมพันธ์ของจิตสำนึกผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา ของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(3), 89–102. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5056

Issue

Section

Original Articles