การบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่ตามโครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต : รูปแบบองค์กรเสมือนจริง
Keywords:
การบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่, องค์กรเสมือนจริง, โครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่ในรูปแบบองค์กรเสมือนจริงตามโครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบ และผลลัพธ์ของการบริหารจัดการการศึกษาในรูปแบบขององค์กรเสมือนจริง (Virtual Organization) ตามโครงการความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเป็นการวิจัยแบบวิธีผสมโดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interview) จากผู้บริหารระดับสูงของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาในรูปแบบองค์กรเสมือนจริง 4) การสนทนากลุ่ม (Focus Groups) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ และ 5) การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาผลลัพธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการ จากผู้บังคับบัญชาและบัณฑิต รุ่นที่ 1–4 จำนวน 391 คน
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่ในรูปแบบองค์กรเสมือนจริง ตามโครงการความร่วมมือฯ มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) กลไกการบริหารจัดการ 2) กรอบการบริหารจัดการ 3) โครงสร้างพื้นฐานของการบริหารจัดการ 4) การวางรากฐาน 5) การจัดการเรียนการสอน 6) ผลลัพธ์ของการบริหารจัดการ ส่วนผลลัพธ์การบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่ในรูปแบบองค์กรเสมือนจริง ตามโครงการความร่วมมือฯ พบว่า 1) ประสิทธิผล นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 15,008 คน สำเร็จการศึกษาแล้ว 14,720 คน คิดเป็นร้อยละ 98.08 2) ประสิทธิภาพ พบว่า ความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ระหว่างกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด 3) คุณภาพบัณฑิต ผลจากการเปรียบเทียบตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา พบว่า ส่วนใหญ่บัณฑิตสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้บังคับบัญชา
คำสำคัญ: การบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่ องค์กรเสมือนจริง โครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Abstracts
The research study aimed: 1) to develop a new approach in educational management related to the educational personnel development cooperative project between the Department of Local Administration and Suan Dusit Rajabhat University, and also 2) to investigate results of this project. The study used a mixed-method research design, including qualitative and quantitative data. The study process consisted of 5 steps. They were: 1) documentation analysis, 2) conducting an in–depth interview of executive directors of the Department of Local Administration and Suan Dusit Rajabhat University, 3) developing a model for educational management in a virtual organization, 4) conducting a focus group discussion to determine the model possibility, and 5) using quantitative method to examine management results by distributing a set of questionnaire to the directors and graduated students in Cohorts 1, 2, 3, and 4, totaling 391 altogether.
Two major results revealed that:
1. The model of Modern Approach in Educational Management in Virtual Organizational Concept related to the Educational Personnel Development Cooperative Project between the Department of Local Administration and Suan Dusit Rajabhat University indicated 6 elements. They were: 1) administrative and management mechanism, 2) administrative framework, 3) basic structure of the organization, 4) founding the organization, 5) learning and teaching management, and 6) the results of educational management model implication.
2.Three results of using the modern approach in educational management in Virtual Organizational Concept relating the educational personnel development cooperative project between the Department of Local Administration and Suan Dusit Rajabhat University revealed: 1) regarding the efficiency of the project, 98.08 percent of the respondents (14,720 out of 15,008) successfully graduated; 2) concerning effectiveness of the project, the respondents’ satisfactions were at the highest levels; and 3) related to the project quality, the results of perception comparison showed the expectations of the executive directors was met by the graduates’ performance.
Keywords: Modern Approach in Educational Management, Virtual Organizational, Educational Personnel’ Development Cooperative Project, The Department of Local Administration, Suan Dusit Rajabhat University