แนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดตาก
Keywords:
แนวทางการบริหารจัดการ, กลุ่มผู้ผลิต, สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดตาก 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มาลงทะเบียน จำนวนทั้งสิ้น 180 กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการสังเคราะห์เนื้อหาด้วยการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า
1. ในภาพรวมของการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ (Material) ลำดับที่ 2 การบริหารจัดการด้านเครื่องจักร (Machine) ลำดับที่ 3 การบริหารจัดการด้านการเงิน (Money) ลำดับที่ 4 การบริหารจัดการด้านตลาด (Market) ลำดับที่ 5 การบริหารจัดการด้านวิธีการ (Method) และลำดับที่ 6 การบริหารจัดการคน (Man)
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการให้กับผู้ผลิตสินค้า ได้แก่ 1) การบริหารจัดการด้านคน หน่วยงานควรเข้ามาช่วยเหลือให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่การแบ่งงานกันทำ แล้วฝึกอบรมทักษะการผลิตให้กับสมาชิกในกลุ่มให้มีความเชี่ยวชาญและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2) การบริหารจัดการด้านการเงิน ควรมีการจัดหาแหล่งเงินทุนเงินกู้ยืมที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับกลุ่มผู้ผลิต ควรจัดฝึกอบรมในด้านการจัดทำงบการเงินตามหลักการบัญชีที่ถูกต้อง 3) การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ หน่วยงานควรให้ความรู้ คำแนะนำ ฝึกอบรมพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตต่าง ๆ ตลอดจนช่วยเหลือด้านการหาวัตถุดิบอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นเข้ามาทดแทนและสามารถแปรรูปวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด หรือโดยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ผลิตประเภทเดียวกันหรือประเภทอื่น ๆ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 4) การบริหารจัดการด้านวิธีการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาช่วยเหลือให้ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้าง การกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับการปฏิบัติงานภายในกลุ่ม และผู้ผลิตควรมีการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ แล้วใฝ่หาโอกาสในการสร้างเครือข่าย เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้มีทิศทางในการผลิตที่ถูกต้อง 5) การบริหารจัดการด้านตลาด ควรให้หน่วยงานจัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้มากขึ้นทุกรูปแบบเพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค การตั้งราคาสินค้าควรที่จะกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสมกับตลาด ส่วนด้านการประชาสัมพันธ์ควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบโดยผ่านจากสื่อต่าง ๆ เช่น ใบปลิว วิทยุ โทรทัศน์ท้องถิ่น เว็บไซต์ เป็นต้น 6) การบริหารจัดการด้านเครื่องจักร หน่วยงานควรเข้ามาให้คำแนะนำในการวางแผนการผลิตทุกขั้นตอน ฝึกให้สมาชิกเรียนรู้ คัดเลือกเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตให้เหมาะสมกับการทำงาน การตรวจสอบเครื่องมือก่อนการใช้งานทุกครั้ง การบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรเพื่อยืดอายุการใช้งานยาวนาน
คำสำคัญ: แนวทางการบริหารจัดการ กลุ่มผู้ผลิต สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
Abstract
This research aimed 1) to study the management of the One Tambon One Product (OTOP) manufacturing group in Tak Province and 2) to propose guidelines for management development for the group. The quantitative data was collected from 180 OTOP manufacturing groups in Tak Province. The qualitative data was collected from 10 key informants. The research instruments were a questionnaire created by a researcher and interview questions. Data was analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis.
The results were as follows:
1) In general, the product management of the OTOP manufacturing groups was at a high level. When considering each aspect, each of them was also at a high level, starting with material management, followed by machine management, money management, marketing management, method management, and human resource management.
2) The management guidelines for manufacturers were divided into six aspects:
a) Regarding human resource management, the groups should be provided knowledge about collaborative workings and trainings should be more skillful, creative and initiative.
b) Regarding financial management, the groups should be provided financial sources with low interest rates and be trained to make standard financial statements.
c) Regarding material management, the groups should be supported with knowledge, advice, trainings, and substitute material sources. The materials left from production should be further processed to make other value-added products. At the same time, networks should be created for material sharing and exchange.
d) Regarding method management, the groups should be supported with the knowledge of setting organizational structures, rules, and regulations for the groups. The groups should also work together and seek opportunities to create a network for setting a product standard.
e) Regarding marketing management, the groups should be trained in order to develop a standard in their products. The distribution for OTOP products should be expanded in all channels to increase the opportunity for customers to access the products. Pricing should be appropriate with the market. Public relations should be done through brochures, radio and local TV segments, and websites.
f) Regarding machine management, the groups should be supported with training in production planning in all processes. Group members should be trained to choose, use, and maintain the tools, machines and instruments.
Keywords : guidelines management, community products maker’s group, One Tambon One Product