การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เสื่อกกเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวชุมชนตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

สินีนาฏ รามฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของการผลิตผลิตภัณฑ์ความต้องการของตลาดออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เสื่อกกสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลโคกย่าง และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา กลุ่มสมาชิกผู้ผลิตสินค้าเสื่อกกในชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ผู้นำการถ่ายทอดองค์ความรู้ ผู้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน โดยเลือกแบบเจาะจง และผู้บริโภคทั่วไปที่สนใจเข้ามาชมผลิตภัณฑ์ในการจัดแสดงสินค้าในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 คนจากการเลือกแบบบังเอิญ  ด้วยเครื่องมือวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบสรุป วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋า และบรรจุภัณฑ์ถุงผ้า ผลการประเมินความพึงพอใจภาพรวมกระเป๋า 10 รูปแบบ กระเป๋าครัช กระเป๋าถือ กระเป๋าสะพายไหล่ กระเป๋าเงินธนบัติ กระเป๋าใส่โทรศัพท์ กระเป๋าใส่กุญแจ กระเป๋าสะพายข้ามตัว กระเป๋าถุงเงินเหรียญ กระเป๋าใส่แท๊ปเลต และกระเป๋าเป้ ความพึงพอใจระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.56) บรรจุภัณฑ์ถุงผ้า ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ( = 4.54 , S.D. = 0.60) การส่งเสริมชุมชนรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ80 และได้กำลังคนในชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญากระบวนการทอเสื่อกกแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและบรรจุภัณฑ์ จำนวน 2 คน ความพึงพอใจผู้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน จำนวน 20 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.66 , S.D. = 0.52) 

Article Details

How to Cite
รามฤทธิ์ ส. (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เสื่อกกเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวชุมชนตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 19(2), 111–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/283095
บท
บทความวิจัย

References

กนกกร จีนนา และอลงกรณ์ คูตระกูล. (2561). กระบวนการถ่ายทอดความรู้จาก

มหาวิทยาลัยสู่ชุมชน : กรณีศึกษาโครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(1), 59 - 80.

ชัยมงคล ศิริวารินทร์, จารุณี จันทรเสนา, ประกาศ แสนทอง, พงศธร แสงลี, และ

ปนิตา จันทร์สงค์. (2564). การศึกษาศักยภาพ สภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านดงบัง หมู่1 ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 141.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

นิรัช สุดสังข์. (2557). ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ :

โอเดียนสโตร์.

นิรัช สุดสังข์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ยุพาวดี นิศวอนุตรพันธ์. (2556). การออกแบบสร้างสรรค์เศษวัสดุ. บริษัท วี.พริ้นท์(1991) จำกัด, 54 - 55.

รจณา จันทราสา (2558). การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝก. โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์ (2555). Packaging Design ออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพ : วาดศิลป์.

อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ:

โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.