รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการเรียนการสอนเพื่อสร้างนวัตกร โดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหาและความต้องการ ของชุมชนบ้านค่ายเจริญ 2.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อสร้างนวัตกร โดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้นักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเวียงเหนือ(ค่ายเจริญ) จำนวน 41 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นนวัตกร แบบทดสอบวัดความรู้และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัยพบว่า
- สภาพบริบทของชุมชนบ้านค่ายเจริญอาศัยภูมิปัญญาพัฒนาตนเอง มีวิถีชีวิตถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน การเข้าใจในสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของตนและปัญหาที่พบในชุมชน คือ ปัญหาดินเสื่อมโทรม ปัญหาการจัดการขยะ ปัญหาการระบายน้ำ ขาดการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ ขาดการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อสร้างนวัตกรโดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่าง มีส่วนร่วม มี 3 องค์ประกอบ คือ การพัฒนาเป้าหมายนวัตกร กระบวนการสร้างนวัตกร และการเพิ่มสมรรถนะความเป็นนวัตกร ผลการใช้รูปแบบ พบว่า หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการประเมินคุณลักษณะความเป็น นวัตกร มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.56 อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ต่อกิจกรรมการเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.59 อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จามรี พระสุนิล. (2563). การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ชุมชนมีสุขด้วยภูมิปัญญาของพระราชา ใน
พื้นที่ตำบลป่าตึงอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2564).
ดิเรก อาสาสินธ์. (2550). สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
บึงสามพัน อำเภอสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์.รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประเวศ วะสี. (2540). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมแนวทางพริกฟื้นเศรษฐกิจและสังคม.
กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน
ภานนท์ คุ้มสุภา. (2562). นวัตกรท้องถิ่นรุ่นใหม่กับการแพร่กระจายนวัตกรรมสู่ชุมชน.
วารสารนิเทศศาสาตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยนครปฐม, 13(2), 258-299.
มณฑล สุดประเสริฐ. (2560). การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้อย่างยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริใน
หลวงร.9. กรุงเทพฯ : กรมโยธาธิการและผังเมือง.
วสันต์ สุทธาวาศ, และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ:
การศึกษาทฤษฎีฐานราก. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 281-300.
สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์. (2552). รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตาม
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏ เพชรบูรณ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนา
ครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.