ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชนในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชนในจังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลโดยศูนย์ดูแลผู้สุงอายุเอกชนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง สถานภาพสมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรี อายุระหว่าง 35-40 ปี ครอบครัวหรือผู้ดูแลมีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 30,000-40,000 บาท ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้านพักหรือศูนย์ดูแลผู้สุงอายุอยู่ที่ 15,000-20,000 บาท ต่อเดือน สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านส่วนประสมทางการตลาดมีดังนี้ ด้านบุคลากร การส่งเสริมการตลาด และสถานที่ และยังพบว่าความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษา รายได้ของครอบครัว มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชนที่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กาญจนา พิบูลย์, พวงทอง อินใจ, มยุรี พิทักษ์สิน, และคนอื่นๆ. (2559). ความต้องการในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา .หน้า 44-52.
วิสิฐ ประกอบพันธ์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาริทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ต.
สำนักงานสถิติจังหวัดนครปฐม .(2565). จำนวนผู้สูงอายุนครปฐม สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566. สืบค้นจาก : https://nkpathom.nso.go.th/statistical-information-service/key-indicators-of-the-province/percentage-of-the-elderly.html
แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม. (2565). จำนวนประชากรแยกกลุ่มอายุ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566 . สืบค้นจากchromeextension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.nkppao.go.th/customers/webpages/datas/content/download/220905/6a782dfc.pdf.
Dowd JE. (2021). Definition of an older person. Proposed working definition of an older person in Africa for the MDS project. World Health Organization. Geneva: WHO.
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed). New York: Harper, & Row.