การสืบทอดและธำรงรักษาอัตลักษณ์ อาหารพื้นบ้านของชาวไทย เชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ธัชกร พรมโสภา
กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์
สุชีรา ผ่องใส

บทคัดย่อ

 


วิทยานิพนธ์เรื่อง การสืบทอดและธำรงรักษาอัตลักษณ์ อาหารพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้านที่บริโภค ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อจัดทำตำรับอาหารพื้นบ้านของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นแนวทางการธำรงรักษาอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้านที่บริโภค ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีผู้ให้ข้อหลักสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 5 ท่าน รวบรวมการสัมภาษณ์ มาปรับเป็นตำรับมาตรฐาน นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน ประเมินผล เพื่อให้ได้เป็นตำรับที่มีลักษณะตำรับดั่งเดิมทั้งลักษณะชองอาหารและรสชาติ ผลการวิจัยพบว่า อาหารพื้นบ้านที่บริโภค ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ มีจำนวนทั้งหมด 9 ตำรับ ได้แก่  แกงปูนา (ละแวกะดาม) , แกงกล้วย (ซัลลอเจก) , แกงฮอง , เมี่ยงขนุน , เบาะโดง (น้ำพริกมะพร้าว) , เบาะเจราะมะออม (น้ำพริกผักแขยง) , เบาะอังแกบ (น้ำพริกกบ) , เบาะบายกรีม (ข้าวตู) และอันซอมกะบ็อง (ข้าวต้มด่าง)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทวีศักดิ์ แสวงสาย และ ฤดีมาศ แสวงสาย. (2559). ภูมิปัญญาอาหารชาติพันธุ์เพื่อสุขภาพของชาวไทยเขมร ไทยกูยและไทยลาวในเขตอีสานใต้. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11, 84-91.

ปวีณา งามประภาสม. (2561). การอนุรักษ์และสืบสานความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาหารพื้นเมืองภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. Journal of Cultural Approach, 19(35), 38-48.

พัฒนะ วิศวะ. (2549). ความหมายวัฒนธรรม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : www.manageronline.com, 8 มีนาคม 2564.