เรือมอัปสรา : อัตลักษณ์นาฏกรรม การสร้างพลังอำนาจละมุน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

วรุธ วงษ์อิน
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง เรือมอัปสรา : อัตลักษณ์นาฏกรรม การสร้างพลังอำนาจละมุน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนาฏกรรมในการแสดง ชุด เรือมอัปสราบุรีรัมย์  2) เพื่อศึกษาการสร้างพลังอำนาจละมุนจากการแสดง ชุด เรือมอัปสราบุรีรัมย์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนาม จากประชากรจำนวน     30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจากที่ได้รับการยอมรับ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 4 คน และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสังเกต 


                              ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์นาฏกรรม เรือมอัปสราบุรีรัมย์ ถูกประกอบสร้างจากโบราณคติ ความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าบนพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ปราสาทพนมรุ้ง โบราณสถานอันยิ่งใหญ่ที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของอารยธรรมขอมโบราณ และประเพณีอันดีงามที่ถูกยึดโยงด้วยนาฏกรรมอันทรงคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับจังหวัดบุรีรัมย์มาอย่างยาวนานและกลายเป็นภาพลักษณ์ของจังหวัดที่สามารถก่อตัวเป็นพลังอำนาจละมุน  (Soft power) ที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยอิทธิพลที่เกิดจาก อัตลักษณ์ทาง “นาฏกรรม”  ในด้านสุนทรียศาสตร์ ท่ารำ บทเพลง และเครื่องแต่งกาย สามารถยึดโยงพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ของจังหวัดให้กับผู้คนทั่วไปรับรู้และยอมรับในตัวตนของจังหวัดบุรีรัมย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตพร แซ่อึ๊ง. (2562). นโยบาย Soft power กับการส่งออกวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ ค.ศ.1997 - ปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนะพล ผินสู่. (2564). ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง : พื้นที่พิธีกรรมและการสะท้อนอัตลักษณ์จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนวรรธน์ นิธิปภานันท์. (2556). ประเพณีประดิษฐ์กับการเปลี่ยนแปลงที่หัวหิน. วารสารคณะ มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(3), 148.

พัชราภรณ์ เกษะประกร. (2550). การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2564). เศรษฐกิจสร้างสรรค์, สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-604476

ไมเคิล ฟรีแมน. (2546). สัญลักษณ์เขมร. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊กค์ 2546.

รุ่งรัตน์ ชัยสําเร็จ. (2549). กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการตลาดของธุรกิจ. สืบค้น 20

กรกฎาคม 2566. จาก https://www.utcc.ac.th/amsar/about/document13.html

วิมลรักษ์ ศานติธรรม. (2565). Soft power พลังแห่งการสร้างสรรค์. วิจัยปริทัศน์ ฉบับที่ 27. สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2553). หลวงพระบางเมืองมรดกโลก : พื้นที่พิธีกรรมและการต่อรองเชิงอัตลักษณ์ในกระแส โลกาภิวัตน์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิราพร ณ ถลาง (2558). มองคติชน เห็นตัวตนชาติพันธุ์. กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล. (2567). บทบาทที่จะส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2756829

อิศราพร วิจิตร์. (2559). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นบุรีรัมย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์วารสาร ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.