บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ฐาวรดา วิเชียรฉาย
วิรัตน์ มณีพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานของครู วุฒิการศึกษาและขนาดโรงเรียนในกลุ่มตัวอย่าง


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ 263 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมรายด้าน พบว่า ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (2560). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิค วิธีสอนแนวใหม่. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มาhttps://regis.skru.ac.th/RegisWeb/webpage/addnews/data/2017-07-24_078.pdf

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ริปอง

กัลวาณิชย์.

เพ็ญจันทร์ โรจน์รัตนาภรณ์. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (บริหารการศึกษา). นนทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภิญญาพัชญ์ กาวินคำ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ตำบลเวียงชัย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. ฉบับที่ 11. เล่มที่ 3. วารสารฉบับพิเศษ : 22

ยุวดี นามนิล. (2563). บทบาทของผู้บริหารต่อการบริหารงานบุคลากรยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์. (2556), บทวิเคราะห์สภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนว ทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2556).

สมาน อัศวภูมิ. (2557). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5.

สัญญา พงษ์ศรีดา. (2561). การพัฒนาทักษะการสอนของครูพันธุ์ใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 The development of teaching skills of new teachers in Thailand 4.0.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม –มิถุนายน 2561

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เหมาะสม กับผู้เรียนในวัยเรียน.กรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2563

สุรพงศ์ อึ๊งโพธิ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2.วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(1), 266-275.

สุรีพร แก้วโพธิ์. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อังจิมา คงโอ. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). พะเยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

Krejcie, R.V., & Morgan,D.W. (1992). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Noraini, Bakare, & Sharifah (2015). The Roles of Administrators in Distance Education Programme: A Case at Higher Learning Institutions. International Journal of Social Science and Humanity, 5(5), 479-482.

Zincirli, Muhammed. (2021). School Administrators’ views on Distance Education during the COVID-19 Pandemic Process. Malaysian online Journal of Educational Technology, 9(2), 52-66