ขยะมีค่า บ้านน่าอยู่ สู่กองทุนสวัสดิการขยะ การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาบ้านโนนเหลื่อม ต.ภูเเลนคา อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

Main Article Content

จันทร์จิรา ตรีเพชร
ปริยกร ชาลีพรม
บุศรา ศรีชัย
นิคม บุญกอบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะด้วยกองทุนสวัสดิการขยะบ้านโนนเหลื่อม ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมParticipatory Action Research(PAR) และการวิจัยผ่านการขับเคลื่อนและการประเมินผลโดยใช้กระบวนการ Action Research Evaluation (ARE)การติดตามผลลัพธ์แบบเสริมพลังในการดำเนินงานด้วยการใช้บันไดผลลัพธ์และกิจกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มสมาชิกชุมชนโนนเหลื่อมที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ จำนวนครัวเรือน 100ครัวเรือน โดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่ามีปริมาณขยะลดลงเฉลี่ยเท่ากับ 7.40กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อเดือน มีการดำเนินกิจกรรมดังนี้ การบริจาคขยะกองทุนสวัสดิการ การอบรมการคัดแยกขยะ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม และการเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบบ้านแก้งยาว ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้าจังหวัดชัยภูมิ เกิดรูปแบบการจัดการขยะด้วยกองทุนสวัสดิการขยะและเกิดข้อบังคับกองทุนสวัสดิการขยะบ้านโนนเหลื่อม ดังนั้นการใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ความร่วมมือชุมชนสะอาด น่าอยู่ เกิดความสามัคคีกันดีมากขึ้น อีกทั้งสามารถยกระดับชุมชนที่กำลังพัฒนากองทุนสวัสดิการให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). การจัดการขยะมูลฝอยใน

ชุมชน. เว็บไซต์. http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_garbage.html. สืบค้นเมื่อ

สิงหาคม 2565.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. แผนพัฒนาจังหวัด

ชัยภูมิ พ.ศ. 2561 – 2564.

กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์สถานที่

กำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565.

จันทร์จิรา ตรีเพชร, ปริยกร ชาลีพรม, บุศรา ศรีชัยและ นิคม บุญกอบ. (2562). การศึกษารูปแบบ

การจัดการขยะด้วยกองทุนสวัสดิการขยะบ้านแก้งยาวตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. การประชุมวิชาการระดับชาติสู่การพัฒนาชุมชนฉลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 1. วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชียมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ศูนย์แม่ริม. หน้า 81 – 86.

แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. (2561).

แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.561-2564).

พระมหานิพันธ์ ปริปุณฺโณ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะของชุมชน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.วารสาร มจร การพัฒนาสังคมปีที่ 4 ฉบับที่ 1มกราคม –เมษายน 2562.หน้า 135 – 150.

พิศิพร ทัศนาและโชติ บดีรัฐ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยใน

เขตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. หน้า 151 – 164.

สมัชชาสุขภาพเครือข่ายจังหวัดชัยภูมิ. (2558). คนชัยภูมิกับ “การจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วน

ร่วม” เว็บไซต์. https://scholar.google.co.th/schola. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564). เครื่องมือบันไดผลลัพธ์โครงการ. สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

องค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา. (2565). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. เว็บไซต์. http://www.phulanka.go.th/data.php?content_id=2. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565.