นิตยสารฉลาดซื้อกับบทบาทของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพต่อผู้บริโภคในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพจากการถอดบทเรียนโครงการของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ 2) เพื่อศึกษาบทเรียนของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพที่สามารถแก้ปัญหาและสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่ส่งผลเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4) เพื่อพัฒนาแนวทางการสื่อสารและส่งเสริมการตระหนักรู้ของผู้บริโภคในการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อ จำนวน 400 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสื่อ กลุ่มผู้บริหารและคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อที่เป็นสมาชิกมากกว่า 10 ปี กลุ่มภาคีเครือข่าย และกลุ่มนักวิชาการ ผลการศึกษา พบว่า บทบาทหลักบทบาทของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ คือ บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีกระบวนการทำงาน ได้แก่ 1) สำรวจปัญหาและเฝ้าระวัง 2) ทดสอบสินค้าและบริการ 3) การสื่อสารเผยแพร่ข้อมูล และ4) การสร้างเครือข่ายผู้บริโภค และบทเรียนของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพที่สามารถแก้ปัญหาและสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภค คือ บทเรียนเรื่องสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่ส่งผลเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พบว่า ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภคในประเทศไทย ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต มากที่สุด รองลงมา เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ส่วนสื่อที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข้อมูลระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ พบว่า สื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด เช่นเดียวกัน รองลงมา สื่อสิ่งพิมพ์ และจากการรับรู้ข้อมูลผลทดสอบสินค้าและบริการ ต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พบว่า สามารถสร้างพฤติกรรมใหม่หลังการรับรู้ข้อมูลผลทดสอบสินค้าและบริการ มากที่สุด รองลงมา ลดพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และสามารถควบคุมตนเองในการซื้อสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็น โดยสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อให้เหตุผลในการติดตามและเป็นสมาชิก เกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภค พบว่า เป็นนิตยสารที่ไม่รับโฆษณา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับ 4.04 รองลงมา ข้อมูลผลทดสอบมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ออกแบบนิตยสารได้น่าสนใจ เนื้อหาในนิตยสารทันยุคทันสมัย ใช้เป็นข้อมูลประกอบการเลือกซื้อสินค้าและบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน อยู่ในระดับ 4.00 เปิดเผยชื่อยี่ห้อสินค้าที่ทดสอบอย่างตรงไปตรงมา มีระดับค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.99 และแนวทางการสื่อสารและส่งเสริมการตระหนักรู้ของผู้บริโภคในการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพในประเทศไทย พบว่า ต้องมีการกำหนดแนวทางการสื่อสารดังนี้ 1) กำหนดรูปแบบการทำงานภายใต้บทบาทให้ชัดเจน กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร กำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้รับสาร กำหนดรูปแบบของสื่อที่จะเผยแพร่ 2) การใช้เครื่องมือการสื่อสารให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อเฉพาะกิจ 3) การเลือกวิธีการสื่อสารและเนื้อหาสารให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 4) การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในการสื่อสาร 5) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
คณะทำงานติดตามประเมินผลโครงการ. (2562).รายงานฉบับสมบูรณ์ การติดตามประเมินผลภายในโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (1 กรกฎาคม 2560 – 31 สิงหาคม 2562). มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เบญจวรรณ สุพรรณอ่างทอง. (2555). การใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2561). มาตรการทางกฎหมายสำหรับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ.บทความวิชาการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรินทร์ ยอดคำแปง. (2561). แนวทางการสร้างเครือข่ายการให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา.โครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สุวจนี จิวะวิไลกาญจน์. (2562). การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล่ในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 25(3),35-53.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. American Psychological Association