การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์แบบ Cluster เพื่อรองรับการตลาดสมัยใหม่

Main Article Content

จินตนา วัชรโพธิกร
สรรเพชร เพียรจัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพผู้ประกอบการ Cluster ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์2) สร้างกระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการ Cluster ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ให้มีศักยภาพ3) สร้างโอกาศทางธุรกิจการตลาดสมัยใหม่ให้กับ Cluster ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย คือ จำนวน 5 ชุมชน ดังนี้ 1) วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ยั่งยืนแบบถาวร 2) กลุ่มวิสาหกิจอาชีพสตรีทอผ้าฝ้ายผ้าไหม (ภูอัคนี) 3) กลุ่มวิสาหกิจการทอผ้าไหมเมืองรุ้งบ้านโคกสะอาด-หนองอ้อยช้าง4) ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ 5) กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองม่วง จำนวนทั้งสิ้น 116 คน


            ผลการดำเนินโครงการ พบว่า การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์แบบ Cluster เพื่อรองรับการตลาดสมัยใหม่สามารถแบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) กลยุทธ์ SO กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกโดยเฉพาะเจาะจงการตลาดและการขยายตลาด 1.1) การขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ 1.2) การพัฒนาเครือข่ายร่วมมือคลัสเตอร์ไหมบุรีรัมย์ 2) กลยุทธ์ WO กลยุทธ์การปรับปรุงกระบวนการภายใน2.1) การสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการคลัสเตอร์ไหมจังหวัดบุรีรัมย์ 2.2) การพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 2.3) การยกระดับคุณภาพไหม 3) กลยุทธ์ ST กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร3.1) การจัดอบรม เชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้ประกอบการและให้คำปรึกษาเชิงลึกให้แก่ผู้ประกอบการ 4) กลยุทธ์ WT กลยุทธ์เชิงรับอุดรอยรั่ว 4.1) กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการคัสเตอร์ไหมบุรีรัมย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วัลลภา วิชะยะวงศ (2564). การขยายโอกาสตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์

ลาวครั่ง สำหรับลูกค้าต่างประเทศ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ,6(7)

ลักษมี ทุ่งหว้า และคณะ (2561). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการทีมงาน : กรณีศึกษา กลุ่ม

แม่บ้านชุมชนเปรมฤทัย เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสาร Kasem Bundit, 19(1),

-72.