นวัตกรรมการบริหารจัดการเกษตรแปลงรวมในพื้นที่สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดบุรีรัมย์ -

Main Article Content

อาจารย์บัญชา นวนสาย
อาจารย์ ดร.เอกพล แสงศรี
ผศ.ดร.เทพพร โลมารักษ์
ผศ.ดร.คคนางค์ ช่อชู
อาจารย์ ภาวิดา แสนวันดี

บทคัดย่อ

          นวัตกรรมการบริหารจัดการเกษตรแปลงรวมในพื้นที่สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการบูรณาการความร่วมมือการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยโมเดลเกษตรแปลงรวมแก้จน ซึ่งดำเนินการในพื้นที่การวิจัยที่ผ่านการสอบทานในระบบ PPP Connect  เป็นตำบลที่มีครัวเรือนคนจนอยู่มากที่สุด 5 ลำดับแรกของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ โดยใช้ประชากรกลุ่มอยู่ยากและอยู่พอได้ ที่ไม่มีที่ดินทำกิน มีทักษะการทำเกษตร และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ  จำนวน 200 ครัวเรือน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม


          ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารพื้นที่สาธารณะสู่เกษตรแปลงรวมแก้จน มี 2 รูปแบบ คือ การใช้พื้นที่สาธารณะส่วนรวมของชุมชน และการใช้พื้นที่ครัวเรือนของคนจน ดำเนินกิจกรรมเกษตรแปลงรวม ด้วยการบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคม โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นตัวกลางประสานงาน ผ่านการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับศักยภาพบริบทของชุมชนท้องถิ่นและครัวเรือนยากจน ด้วยกระบวนการพัฒนา 10 ขั้นตอน สามารถยกระดับทุนดำรงชีพ 5 ด้าน ให้กับครัวเรือนคนจนกลุ่มเป้าหมาย ให้ดีขึ้นดังนี้ 1.ด้านทุนมนุษย์ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนยากจนอย่างต่อเนื่องด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย 2.ด้านทุนทางสังคม เกิดการรวมกลุ่มสมาชิก มีกฎ กติกา ข้อบังคับ กิจกรรมร่วมกันทำให้ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข 3.ด้านทุนทางเศรษฐกิจสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้มีค่าเฉลี่ยรวม  39.53 บาทต่อวัน และมีอาชีพเสริมต่อเนื่องจากภาคเกษตรหลายอาชีพ 4.ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติ ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ จำนวน 8 ไร่ 1 งาน และใช้แหล่งน้ำของชุมชนเพื่อปลูกพืชผักและพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณค่าของทรัพยกรในชุมชน  5.ด้านทุนทางกายภาพ ครัวเรือนคนจนมีที่ดินทำกินเพิ่มขึ้น ครัวเรือนละ 1 แปลง เพื่อปลูกพืช ผัก อาหารปลอดภัย เป็นการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้กับ จึงเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้พื้นที่สาธารณะ สร้างอาชีพ อาหารปลอดภัย และเกิดสังคมเกื้อกูลที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัญชา นวนสาย และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการที่สาธารณประโยชน์แบบมีส่วนร่วมตำบล

ชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,

พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2562). ปัจจัยการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของ

เกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1

มกราคม-มิถุนายน .

สมุดบันทึกเศรษฐกิจพอเพียง. (2549). นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวันโอกาสการจัดงานฉลอง

ศิริราชครบ 60 ปี.

สกุณี อาชวานันทกุล และ ภัทราพร แย้มละออ. (2560). คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทน

ทางสังคมจากการลงทุน (Handbook for Social Impact Assessment and Social Return

on Investment). กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

เอกพล แสงศรี และคณะ (2566). ส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อผักมาตรฐาน GAP จากโครงการเกษตรแปลงรวมแก้จน ของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน)