แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ Guidelines for development of Buddhist and cultural tourism potential in Muang District, Buriram Province

Main Article Content

วิศวมาศ ปาลสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยนี้ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม การเดินสำรวจ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีร่วมกับชุมชน ผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 6 สถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดป่าเขาน้อย ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ วนอุทยานเขากระโดง พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 วัดบ้านหนองโพรงและศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ซึ่งนักท่องเที่ยวสนใจศึกษาคุณค่างทางประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และประเพณีท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ทั้ง 6 สถานที่ เริ่มต้นจาก จุดที่ 1 ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ จุดที่ 2 ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ จุดที่ 3 วัดบ้านหนองโพรง จุดที่ 4 พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 จุดที่ 5 วนอุทยานเขากระโดง และจุดที่ 6 วัดป่าเขาน้อย สถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมทั้ง 6 แห่ง มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองไม่เกิน 10 กิโลเมตร นับมีความเหมาะสมสำหรับการนักท่องเที่ยวที่สนใจศึกษาเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ขณะเดียวกันยังสามารถเยี่ยมชมสนามฟุตบอลช้างอารีน่า และสนามแข่งรถอินเตอร์เนชั่นนอล เซอร์กิจ อีกด้วย

Article Details

How to Cite
ปาลสาร ว. (2024). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์: Guidelines for development of Buddhist and cultural tourism potential in Muang District, Buriram Province. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 18(2), 9–23. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/272210
บท
บทความวิจัย

References

จีณัสมา ศรีหิรัญ คมม์ เพชรอินทร สินีนาถ เสือสูงเนิน นรัญญา พลเยี่ยม และศิริธร โคกขุนทด. (2564). การท่องเที่ยวเชิงศาสนา ตามรอยวรรณกรรมพื้นถิ่นและบุญบั้งไฟพญานาค อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 17 (2), 1-18

ครอบครัวชิดชอบ. (2559). บุรีรัมย์ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่ละออง ชิดชอบ.บุรีรัมย์ : บุรีรัมย์.

ณฐอร นพเคราะห์ จันทิมา เขียวแก้ว และทิพย์พิรุณ พุมดวง. (2566). ความเชื่อเรื่องพญานาคในบริบทสังคมไทย. Journal of Social Science and Cultural.7 (6),98-108

ปักหมุดเมืองไทย. (2562). ปักหมุดเมืองไทยวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์. สุรินทร์ : เอทีพีอาร์ เพอร์เฟคท์ จำกัด.

รุ่งรัตน์ หัตถกรรม. (2551). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของวนอุทยานเขากระโดง. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 3(1), 93-101.

รุ่งเรือง งาหอม (2564) ความหลากหลายของพันธุ์ไม้วัดป่าเขาน้อยอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 5(2), 59-74.

วรเดช มีแสงรุทรกุล. (2562). นาคและบาดาลโลก : พัฒนาการทางความเชื่อในโลกทัศน์ของชาวพุทธ. วารสารวิชาการ มจร. บุรีรัมย์.4(2), 104-114.

วิเชียร นามการ. (2554). การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้. (2550). คู่มือนำชมศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

สืบสกุล พันธ์ดี. (2564). ฉัตร 9 ชั้น พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1. ไทยรัฐออนไลน์. กรุงเทพ ฯ : ไทยรัฐ จาก https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2057633 สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566.

MacKenzie, N. G., Pittaki, Z., & Wong, N. (2020). Historical approaches for hospitality and tourism research. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 32(4), 1469-1485.

Priyanto, S. S. (2018). Optimizing the Potential Tourist Attraction Culture in the Puppet Museum Jakarta. KnE Social Sciences, 1119-1130.

Rai, H. D. (2020). Buddhism and tourism: A study of Lumbini, Nepal. Journal of Tourism and Hospitality Education, 10, 22-52.

Shinde, K. (2021). “Imported Buddhism” or “Co-Creation”? Buddhist Cultural Heritage and Sustainability of Tourism at the World Heritage Site of Lumbini, Nepal. Sustainability, 13(11), 5820.

Shinde, K., DSV, W., LK, F., & YH, K. (2020). Buddhist tourism in Asia: towards sustainable development.

Sonchaem, W., Phuditthanawong, W., Hutacharoen, R., & Hinjiranan, P. (2019). Influential factors on tourism potential of Buddhist temples: Case study of Buddhist temples in cultural conservation zone of Bangkok Metropolitan Administration (Rattanakosin and Thonburi). Kasetsart Journal of Social Sciences, 40(2), 466-471.