การถอดบทเรียนศิลปะการแสดงพื้นบ้านลิเกโคราช ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Rattikorn Srichaichana

บทคัดย่อ

การถอดบทเรียนศิลปะการแสดงพื้นบ้านลิเกโคราช ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความเป็นมาของรูปแบบการแสดงและ เพื่อค้นหาแนวทางที่นำไปสู่การสืบทอดและอนุรักษ์การแสดงศิลปะการแสดงพื้นบ้านลิเกโคราช ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับศิลปินอาวุโสในท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอในรูปแบบความเรียงแบบพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า (1) ศิลปะการแสดงลิเกโคราช ตำบลหนองระเวียงมีที่มาจากนักแสดงลิเกภาคใต้ที่ได้ย้ายถิ่นฐานและตั้งรกรากที่ตำบลหนองระเวียง โดยในตำบลหนองระเวียงมีวงดนตรีปี่พาทย์ประจำอยู่แล้ว จึงเกิดการรวมตัวจัดตั้งขึ้นเป็นคณะลิเกของตำบลหนองระเวียง ใช้ชื่อว่า “ดีนวลทองศิลป์” ซึ่งนำมาจากนามสกุลของผู้ร่วมก่อตั้งทั้งสองท่าน ลิเกคณะดีนวลทองศิลป์ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น ได้มีการพัฒนานักแสดงเพื่อเป็นศิลปินลิเกโคราชจากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยมา รวมถึงได้มีการต่อยอดคณะลิเกให้เกิดขึ้นอีกหลายคณะ ด้านรูปแบบการแสดงแรกเริ่มมีรูปแบบการแสดงที่เรียบง่าย แล้วจึงพัฒนาตามยุคสมัย ส่วนการแสดงเรื่องแต่เดิมนั้นจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรม เรื่องเล่า หรือนิยาย โดยจะมี “คนให้เรื่อง” เป็นผู้ให้เนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ เสมือนผู้กำกับการแสดง (2) แนวทางในการนำความรู้มาอนุรักษ์สืบทอดและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกโคราชให้คนในท้องถิ่นเห็นถึงความสำคัญของศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ควรมีการพิจารณามอบรางวัลเชิดชูเกียรติลิเกโคราชที่ทำคุณงามความดี เพื่อเชิดชูศิลปินและเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นหลังต่อไป อีกทั้งควรส่งเสริมศิลปะการแสดงลิเกโคราชตำบลหนองระเวียงในระบบการศึกษา โดยบูรณาการกับหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนต้นแบบหรือการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะโครงการอบรมระยะสั้นตามความเหมาะสมคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางด้านศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ส่งเสริมและสืบทอดไว้แก่คนรุ่นหลังต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉิมพลี. (2563). รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาตำบล โดยใช้รูปแบบการพัฒนา

ชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม(Holistic Area Based Community Development : HAB).นครราชสีมา :

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เขมิกา จันทร์สุขสวัสดิ์. (2554). การสืบทอดอัตลักษณ์ลิเกไทยสู่เด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชน ภาคกลาง.

วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์.

โคราชในอดีต. (2563). ลิเกโคราช. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.facebook.com

/korat.in.the.past/photos

บุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร. (2552). โนรา : การอนุรักษ์การพัฒนาและการสืบสานศิลปะการแสดงภาคใต้. วิทยานิพนธ์

หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พันทิพา มาลาและคณะ. (2552). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาศิลปินพื้นบ้าน สาขาศิลปะการแสดงลิเกจังหวัด

พระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุริยา สมุทคุปติ์. (2541). แต่งองค์ทรงเครื่อง : “ลิเก” ในวัฒนธรรมประชาไทย. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อรวัฒนา ชินพันธ์. (2553). รูปแบบการแสดงละครรำแก้บนประกอบพิธีกรรมความเชื่อ : กรณีการแสดงที่วัดบ้านแหลม จังหวัด

สมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

KAD Performing Art School. ศิลปะการแสดง. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563,จาก

http://www.kadperformingarts.com/index.php/component/content/article/30-article/57-2012-07-18-02-38-02