การสื่อสารอัตลักษณ์และการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดนัด ถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์ Communicating identity of the Buriram SrowGround walking street

Main Article Content

Tanupat Raungpratyakul

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารอัตลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์   และ 2) การรับรู้อัตลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์ในสายตานักท่องเที่ยว   


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักมี 3 กลุ่ม คือ 1) เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ รองผู้อำนวยการกองสารณสุข เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ กรรมการบริหารถนนคนเดินเซราะกราว เจ้าหน้าที่บัญชีถนนคนเดินเซราะกราวและโฆษกประจำถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 5 คน 2) ตัวแทนคณะกรรมการผู้ประกอบการถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 5 คน และ 3) ตัวแทนประชาชนที่เดินทางมาตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 15 คน รวมจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แบบสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป 


ผลการวิจัย พบว่า 1) การสื่อสารอัตลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์พบว่ามีการสื่อสารผ่านสื่อ 5 ประเภทคือ (1) สื่อบุคคล ได้แก่บุคคลจากหน่วยงานรัฐและเอกชน บุคคลในท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ศิลปินดารา นักท่องเที่ยว  (2)สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่สื่อเสียงตามสาย โปสเตอร์ แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมและการจัดการแสดง (3)สื่อมวลชน ได้แก่ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์  (4)สื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ การประชาสัมพันธ์เพจเฟสบุ๊ค การรีวิว การเช็คอินผ่านสื่อออนไลน์ และ (5)สื่อกิจกรรมพิเศษต่างๆ เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์หลัก 7 ด้านคือ (1) การเป็นถนนสายวัฒนธรรม เป็นลานบ้านลานเมือง (2) การแสดงพื้นบ้าน เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงศิลปะพื้นบ้านของจังหวัดและต้อนรับนักท่องเที่ยว  (3) ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นพื้นที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าพื้นบ้านของดีจังหวัด (4) อาหารพื้นบ้าน เป็นแหล่งรวมอาหาร ขนมพื้นบ้านของอร่อยของจังหวัด  (5) ถนนปลอดโฟม ปลอดน้ำอัดลม เหล้าบุหรี่ เป็นถนนคนเดินเพื่อสุขภาพ (6) ตลาดนัดอาหารปลอดภัย ผู้ประกอบการถนนคนเดินต้องทำตามกฏอนามัยของกระทรวงสาธารณสุข (7) ตลาดต้องชม ได้รับคัดเลือกให้เป็นตลาดที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน  2) การรับรู้อัตลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์ในสายตานักท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่มีการรับรู้อัตลักษณ์ด้านการเป็นถนนสายวัฒนธรรม แหล่งรวม ศิลปะ การแสดงและผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมากที่สุด  รองลงมาคือ การเป็นแหล่งรวมอาหารพื้นบ้านและขนมพื้นบ้าน  และการเป็นตลาดนัดอาหารปลอดภัย ถนนปลอดโฟม


 


คำสำคัญ การสื่อสารอัตลักษณ์  การรับรู้  นักท่องเที่ยว ถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันยา สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.

กรองแก้ว อยู่สุข. (2543). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการ

บัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558-

กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2540). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ขนิษฐา วิเศษสาธร และมานิกา วิเศษสาธร. (2552). จิตวิทยาในชีวิตประจําวัน.

กรุงเทพมหานคร : งานตําราและเอกสารการพิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ขวัญเรือน กิตติวัฒน์. (2531). พลศาสตร์ของการสื่อสาร.

ในเอกสารการสอนชุดวิชาพลศาสตร์

การสื่อสาร หน่วยที่ 2 (หน้า 23-26). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

งานส่งเสริมการท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยว สำนักปลัดเทศบาล

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. (2561). แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองบุรีรัมย์www.buriramcity.go.th/images/datacontent/kong/clerk/2561/plantravel2561.pdf

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2556). จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1).

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท,

(กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธน, หน้า 25.

ฉลาดชาย รมิวตานนท์. (2554). คนกับอัตลักษณ์ 2 ในเอกสารประกอบการประชุม

ประจำปีทางมานุษยวิทยา, วันที่ 27-29 มีนาคม 2554 ศูนย์มานุษยวิทยาวิทยาสิรินทร, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษวิทยาสิรินทร), หน้า 154.

โชติหทัย นพวงศ์. (2542). การติดตามข่าวสารกับความพึงพอใจในการสื่อสารและ

การท างานของพนักงานเครือซิเมนต์ไทยในช่วงการปรับโครงสร้างธุรกิจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

ฐิติรัตน์ บำรุงวงศ์. (2555). การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของกรมทาง

หลวงชนบท.(วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การสื่อสารมวลชน))

มหาวิทยาลัยรามคำแหง,กรุงเทพฯ.

ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูรย์. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับ

เพศศึกษาของวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร.

(วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

ดำรงค์ ฐานดี. (2546). สังคมและวัฒนธรรม, หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน้าที่พลเมือง

วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม, (กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, หน้า 73.

ถวิล ธาราโภชน์ และศรัณย์ ดำริสุข. (2541).จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธ์.

ทดิกร สอนภาษา. (2551). ภาษาไทยขัดใจปู่ เอกลักษณ์-อัตลักษณ์. คม ชัด ลึก City

life. คมชัดลึก, 445

เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540).พฤติกรรมองค์การ.

(พิมพ์ครั้งที่ 2) ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพ:ไทยวัฒนาพานิช.

ธนพล กัมพลาศิริ.(2548). ภาพลักษณ์การไฟฟ้านครหลวง (ก.ฟ.น.).

(วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

นพ ศรีบุญนาค. (2545). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่3).

กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สูตรไพศาล.

นลินี พานสายตา. (2555).การรับรู้ภาพลักษณ์ คุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการเรียน

การสอน ของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ.

(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์)

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: กรุงเทพฯ.

นัทธนัย ประสานนาม. “เพศ ชาติพันธุ์ และปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ในภาพยนตร์

เรื่อง Touch of Pink.” [ออนไลน์]. http://www.midinghtuniv.org/midnight๒๕๔๕/document๙๕๒๔๘.html

นุชนาฎ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด

ลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต),

มหาวิทยาลัยศิลปากร: นครปฐม.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน.

กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

บุษบา สุธีธร. (2547). กลุ่มประชาชนเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์. ใน เอกสารการ

สอนชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ (ฉบับปรับปรุง)

(หน่วยที่ 13). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เบญจวรรณ สุพันอ่างทอง. (2554). การใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การ

ท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี, (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, นนทบุรี

ปฐมภรณ์ จันทร์แก้ว (2555). การสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและฟื้นฟูการ

ท่องเที่ยวของตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, นนทบุรี

ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการสื่อสารและทฤษฎี. (พิมพ์

ครั้งที่ 2)กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ประเวศ วะสี. (2545). สันติวิธีกับสิทธิมนุษยชน,

(กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, หน้า 23.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งใน

วาทกรรมอัตลักษณ์, (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์), หน้า 32.

ยุรฉัตร บุญสนิท. (2546). ลักษณะความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับสังคม.

ในพัฒนาการวรรณคดี, (นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, หน้า 64.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/dictionary/.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด =

Localism. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, พิมพ์ครั้งที่ 1

ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ และคณะ. (2558). หน้า 2-12. การประเมินการเปิดรับ

ข่าวสาร การรับรู้ และภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร และคณะ. (2553). ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร

(พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุพา สุภากุล. (2540). การสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

วรรณา วงษ์วานิช. (2539). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภูมิศาสตร์

คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และคณะ. (2563). การสร้างอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของ

น้ำพุร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่. วารสารบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2563 หน้า 60-78)

สิริกานต์ ทองพูน คัมภีร์ ทองพูน และคงทัต ทองพูน. (2563).

อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านลานคา

จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ

ครั้งที่ 11, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, หน้า 948-953.

สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.

(2563). แผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (ปี 2561-2565) จังหวัดบุรีรัมย์.

สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2564 จาก www.buriram.go.th/web3/index.php/province-development/plan-developement

สุรพงษ์โสธนะเสถียร. ( 2533). การสื่อสารกับสังคม.

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

เสถียร เชยประทับ, 2525 . การสื่อสารและการพัฒนา.(พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสรี ศรีหะไตร. (2557). ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร.เอกสารหน่วย

ที่ 6-10. รวมองค์ความรู้ ตัวแบบระบบการบริหารจัดการรายกรณี.

ปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). แนวความคิดหลักทางสังคมวิทยาเรื่องอัตลักษณ์.

เอกสารประกอบการนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาสังคมวิทยา ครั้งที่ 1 คณะกรรมการสถาบันวิจัยแห่งชาติ. หน้า 25-60.

อิศราพร วิจิตร์. (2559). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นบุรีรัมย์เพื่อส่งเสริมการ

ท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ.

อิศเรศ คำแหง. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในเขตกรุงเทพมหานคร กับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของมูลนิธิเมาไม่ขับ.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

Assael, Henry. 1998. Consumer Behavior and Marketing Action. 6th ed.

Ohio: South WesternCollege.

Atkin, Charles K., (1973). Institutional Utilities and Information

Seeking.Public Opinion Quantery. 36 (2)

Baristic, P. and others. (2012). The Image and Identity of Croatia as A Tourist

Destination:An Exploratory Study. Enterprise Odyssey. International Conference Proceedings. Online Available at http://search.proquest.com/docview/1350307774?account id=32082 [เข้าถึงเมื่อ 22/09/2019]

DeFleur. Melvin L. (1989). Theories of mass communication. (5th ed.).

New York: Long man.

Goffman, Erving. Stigma: Note on the Management of Spoiled Identity.

Harmondsworth: Penguins Book. 1963.

Klapper, Joseph T. (1960). The Effect of Mass Communication.

New York: The Free Press.

McCombs, Maxwell E.; & Becker, Lee B. (1979).Using Mass Communication

Theory.Englewood Cliffs, NJ: Pearson/Prentice Hall.

McLeod, J. M., & O’Keefe, G. T. (1972). Socialization perspective:

Current perspectivesin mass communication research. London: Sage.

Rogers,Everett M. &; Svenning, Lynne. (1969). Modernization Among

Peasants: The Impact of Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston.