การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู

Main Article Content

Nithiporn Satapornpisittana
พนิดา จารย์อุปการะ
ณรงค์ พันธุ์คง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ประเด็นต่อไปนี้ 3.1) ผลการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาครู 3.2) ความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาครู และ 4)ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาครู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 60 คน โดยสมัครตามความสนใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน และแบบสอบถามหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) มีความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ 2) ผลการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย ระยะเวลา โครงสร้างหลักสูตร กระบวนการฝึกอบรมออนไลน์ และการประเมินผลหลักสูตร และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.01/81.10 3) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์พบว่า นักศึกษาครูมีผลการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ทั้งด้านการประเมินสภาพแวดล้อม ด้านการประเมินปัจจัยเบื้องต้น ด้านการประเมินกระบวนการ และด้านการประเมินผลผลิต พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และพัฒนา. (2564). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

กาญจนา ดงสงคราม, และวรปภา อารีราษฎร์. (2561, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), หน้า 128-137.

กอบสุข คงมนัส. (2561, ตุลาคม-ธันวาคม). เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้: วิถีแห่งการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), หน้า 279-290.

เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพยุคดิจิทัล. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

ณัฐกิตติ์ นาทา. (2561, กันยายน-ตุลาคม). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน: แนวคิดเพื่อการพัฒนาภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), หน้า 182-202.

ธณพร โปมิน, และประดิษฐ์ ศรีโนนยาง. (2563, กันยายน-ตุลาคม). การพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรีตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรปด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการสอนผ่านเว็บ. วารสารพัฒนาการเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่, 5(5), หน้า 212-223.

บริษัทเอ็ดดูโซน. (2564). 16 สมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.eduzones.com/2020/12/26/16-teacher-skill-2564/.

พรนภัส ทับทิมอ่อน, และพีรพัฒน์ ยางกลาง. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). การพัฒนารูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดกิจกรรมออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), หน้า 14-31.

พัชรินทร์ พรมแดง, และนฤมล เทพนวล. (2561, มกราคม-ธันวาคม). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง อาชีวอนามัยและความปลอดภัยพื้นฐาน สำหรับพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), หน้า 32-45.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2562). การเรียนรู้ในโลก VUCA สู่ Social Quotient. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สุวิมล มธุรส. (2564, พฤษภาคม-มิถุนายน). การจัดการศึกษาระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), หน้า 33-42.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf.

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. (2564). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565-2569. กาญจนบุรี : ผู้แต่ง.

Ali, M., & Mousa, M. (2020, January). E-task-based Learning Approach to Enhancing 21st-Century Learning Outcomes. International Journal of Instruction, 13(1), 551-566.

Macarena, M. M., (2020). Cooperative learning TBL and ICT under the CLIL Umbrella. Department of English Philology in Master’s Dissertation, University of Cantabria.

Piaget, J. (2016). Theory of Intellectual Development. Washington : International Psychotherapy Institute.

Richards, J. C., Platt, J. & Weber, H. (1986). The Longman Dictionary of Applied Linguistics. England : Longman Press.

Speexx KRU. (2022). Lower B1. [online]. Retrieved from https://drive.google.com/drive/folders/1YofgHsI2kUWp_8wPnUxMq6wRMQ97PN1F.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP Model for evaluation. Boston : KAP Press.

Tawffeek, M. (2022, January). Designing an Arabic Speaking and Listening Skills E-Course: Resources, Activities and Students’ Perceptions. The Electronic Journal of e-Learning, 20(1), 53-68.

Tyler, R. W. (2013). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago : The University of Chicago Press.

Weller, D. (2020). Task Based Learning Language Teaching. [online]. Retrieved from : https://32ka2vr9pc8sr1h0k0mfafa2-wpengine.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/2020/10/Webinar-TBLT.pdf.

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. London : Longman Press.

World Health Organization. (2021). COVID-19. [online]. Retrieved from : https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19.

Yunia, D. (2021, November). E-Learning Training Activities for Lecturers. Journal of community service and engagement, 1(1), 19-22.