นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกลไกการเชื่อมโยงตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์สู่ความยั่งยืน

Main Article Content

อ.จินตนา วัชรโพธิกร
อ.ดร.สรรเพชร เพียรจัด
ผศ.ดร.จารินี ม้าแก้ว

บทคัดย่อ

โครงการเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกลไกการเชื่อมโยงตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์สู่ความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาศักยภาพชุมชนในการยกระดับเป็นชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกมะค่าโหรน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกมะค่าโหรน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อสร้างตลาดทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงตลาดบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้นำและอาสาสมัครในชุมชน ร่วมเป็นคณะทำงานบริหารจัดการ จำนวนทั้งสิ้น 31 คน ผลการดำเนินโครงการ นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกลไกการเชื่อมโยงตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์สู่ความยั่งยืน เป็นวิธีการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เน้นการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและกำหนดเป้าหมายเป็นรูปแบบขั้นบันได 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 เกิดคณะกรรมการที่เข้มแข็งที่มาจากส่วนร่วมทั้ง 3 หมู่บ้าน ขั้นที่ 2 ชุมชนมีความรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชน ขั้นที่ 3 มีการขับเคลื่อนงานตามแผนที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นที่ 4 คณะกรรมทำงานสามารถติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นที่ 5 ชุมชนสามารถจัดการการท่องเที่ยวของตนเองได้ การวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลง 1) กระบวนการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมประเมิน ทำให้ชุมชนเกิดแผนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน 1 แผนงาน (บันไดผลลัพธ์ 5 ขั้น) ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชน 2) การบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรม 3) อบรมเชิงปฏิบัติการทำให้อาสาสมัครชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ และมีทักษะในการปฏิบัติ ในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม 4) การจัดการท่องเที่ยวชุมชน ทำให้เกิดอาชีพรองรับโปรแกรมการท่องเที่ยว 1 โปรแกรม 5) การทดลองตลาด นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวโดยชุมชน เกิดแผนบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน มีหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ 6 หน่วยงาน เกิดรายได้ เฉลี่ยละ 500 - 700 บาท ต่อวันต่อครั้งของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อ.ดร.สรรเพชร เพียรจัด, สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

 

References

ทิวาวรรณ ศิริเจริญ และนันทกานต์ ศรีปลั่ง. (2560). การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีไทหล่ม เที่ยวไทหล่ม เมืองสงบมากเสน่ห์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4, 472 – 480

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และสหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). “แนว ทางการพัฒนาศักยภาพการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา.” วารสารการวิจัยการ บริหารการพัฒนา. มหาวิทยาลัยพะเยา. 10(3), 22 - 33.

สรรเพชร เพียรจัด และจารินี ม้าแก้ว. (2564). “การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบน ดินแดนภูเขาไฟ บุรีรัมย์.” วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 16(1), 41- 49.

สรรเพชร เพียรจัด. (2561). การเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าเขาอังคารโดยนวัตกรรม 4.0. ภายใต้โครงการนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์. สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร

อรุณวรรณ มุขแก้ว. (2557). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดย ชุมชน ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาวจังหวัดพังงา, 6(1), 160