กระบวนการรบของพาลีและทรพีในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนพาลีรบทรพี

Main Article Content

chinnakit katchumpa

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวรรณกรรมรามเกียรติ์ที่ใช้ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอน พาลีรบทรพี 2) เพื่อศึกษากระบวนการรบ พาลี กับ ทรพี 3) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างท่ารบ พาลี กับ ทรพี ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ศึกษากระบวนท่ารบของพาลีและทรพีในการแสดงโขน และรับการถ่ายทอดท่ารำ สัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในการสอน และการแสดง


ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการรบในการแสดงโขนของพาลีและทรพี สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ 1.การรบในเพลงหน้าพาทย์เพลงเชิด 2. การรบในเพลงร้องและการพากย์เจรจา


กระบวนการรบในเพลงหน้าพาทย์เพลงเชิดจะไม่มีการนุ่งผ้าด้วยสาเหตุเมื่อศึกษาผู้วิจัยพบว่า ตัวทรพีนั้นตามวรรณกรรมและความเป็นจริงเป็นเพียงสัตว์ไม่ได้มีการแต่งตัวเหมือนมนุษย์ ไม่ได้สวมผ้านุ่งและอีกหนึ่งสาเหตุในการแสดงโขนทรพีนั้นไม่สามารถใช้มือในการจับผ้านุ่งของตนเองได้ กระบวนการรบในเพลงหน้าพาทย์เพลงเชิด ของพาลีและทรพี ในการแสดงโขนกระบวนการรบที่ใช้คือ 1.การท้ารบ 2.ท่าเงื้อ มีขั้นตอนการปฏิบัติท่ารำ 5 ขั้นตอนดังนี้  1.การท้ารบ 2.ท่าเงื้อ 3.ท่าตีเข้าก่อนเริ่มเข้าท่าจับ 4.การเข้าท่าจับ 5. ท่าตีออกจากการรบ นับเป็นจบกระบวนการเข้ารบในท่าจับที่ 1


กระบวนการรบใน เพลงร้อง และการพากย์เจรจา มีการปฏิบัติที่คล้ายกันทุกตัวละคร โดยเริ่มต้นจะตีบทตามคำร้องและคำพากย์เจรจา แต่เมื่อบทร้องและบทพากย์เจรจาที่มีความหมาย หมายถึงการรบหรือบรรยายถึงการกระทำของตัวละคร ระหว่างสองตัวละครหรือมากกว่า จะใช้การเข้าท่าจับในการเข้ารบ ซึ่งท่าจับในการแสดงโขนนั้น เมื่อเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติกระบวนการรบมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การตีเข้า 2.การเข้าท่าจับ 3.การตีออก อาจใช้เพียงการเข้าท่าจับ หรือ อาจใช้เพียงการตีเข้า และการตีออก หรือเรียกภาษาโขนว่าการตีผ่าน

Article Details

How to Cite
katchumpa, chinnakit. (2023). กระบวนการรบของพาลีและทรพีในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนพาลีรบทรพี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 18(1), 125–134. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/265611
บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2553). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. : โรงพิมพ์ บริษัทรุ่งศิลป์ การพิมพ์จำกัด.

กรี วรศะริน. (2555). ครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กี อยู่โพธิ์. (2506). บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเล่าเรื่องหนังสือรามเกียรติ์. ถนนราชดำเนินกลาง: โรงพิมพ์คุรุสภา.

อนุชา บุญยัง. (2543). กระบวนท่ารบของอากาศตไล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

อลัมพล สังฆเศรษฐี. (2553). แสดงบทบาตัวละครนิลพัทในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

เรณู โกศินานนท์. (2528). นาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2511). โขน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.