แนวทางการจัดการศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจมิตร สระบุรี Guidelines for Educational Management after the Epidemic of Corona Virus 2019 according to Four Bases of Success of Benjamit Interdisciplinary School, Saraburi

Main Article Content

อลงกรณ์ จันทบาล

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจมิตร สระบุรี 2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจมิตร สระบุรี 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจมิตร สระบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ราย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 162 ราย สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่าความคิดเห็นสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเบญจมิตร สระบุรี จำนวน ๑๖๒ คน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๑ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๗๐


    รายด้านมี 5 ด้าน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง ระดับความคิดเห็นรายข้ออยู่ในระดับมาก ได้แก่ รูปแบบ On-site เรียนที่โรงเรียน        มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 รองลงมา รูปแบบ On-line เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83 รูปแบบ On-demand การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.84 รูปแบบ On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.94 ระดับความคิดเห็น รายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ รูปแบบ On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.22 ตามลำดับ


  แนวทางการจัดการศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเบญจมิตร สระบุรี ควรมีการจัดการเรียนการสอนตามบริบทโรงเรียนตามความพร้อมการเรียนรู้ และความปลอดภัยของนักเรียนเป็นหลัก ตามหนังสือสั่งการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคำสั่งหรือมาตรการต่างๆ ที่ สบค. จังหวัด กำหนดที่ประเมินสถานการณ์เรียบร้อยแล้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ภาควิชาจุลชีววิทยา. ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV). (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1410 (27 กรกฎาคม 2564).

ทัศนีย์ ศุภเมธี. หลักการและการจัดการประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2532.

ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการ, 2546.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต), ธรรมนูญชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2545), หน้า 40.

พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 9, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2543), หน้า 842-846.

มติชนมติครู. การจัดการศึกษา ในสถานการณ์แพร่ระบาด โควิด-19. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2733008 (27 กรกฎาคม 2564).

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โควิด-19 และระบาดวิทยา. ผลกระทบทางด้านการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=4 (27 กรกฎาคม 2564).

วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒพล, 2563 : 39) วารสารบทความวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน – ธันวาคม 2564).

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545. กรุงเทพมหานคร, 2547.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศธ.เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิ.ย. เป็นวันที่ 14 มิ.ย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.obec.go.th/archives/436838 (27 กรกฎาคม 2564).

สุมิตร คุณานุกร. หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิตยสยาม, 2527.