การพัฒนารูปแบบเฟอร์นิเจอร์จากหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาการปรับภาพลักษณ์ให้เฟอร์นิเจอร์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ และเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบเฟอร์นิเจอร์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทแบบตรวจสอบใช้ในการเก็บข้อมูลทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ, แบบสอบถามประเภทการจัดอันดับใช้เก็บข้อมูลระดับความพึงพอใจต่อแบบร่างของเฟอร์นิเจอร์, และแบบสอบถามประเภทแบบมาตราส่วนประมาณค่าใช้เก็บข้อมูลระดับความพึงพอใจต่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ วิธีการดำเนินการวิจัย คือ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากการทบทวนวรรณกรรม และเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลระดับความพึงพอใจต่อแบบร่างของเฟอร์นิเจอร์ ประชากร คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการทำผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำไปเขียนทัศนียภาพ เพื่อใช้ประกอบในเก็บข้อมูลในส่วนที่ 2 ข้อมูลระดับความพึงพอใจต่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ประชากร คือ ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ตกแต่งและของใช้ภายในบ้านจากไม่ไผ่ อายุ 20-40 ปี วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สถิติที่ใช้ คือ ค่ารอยละ, คาเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบของเฟอร์นิเจอร์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ควรมีลักษณะดังนี้ มีความสวยงาม ขนาดกะทัดรัด เรียบง่ายแต่ทันสมัย สอดรับกับรูปแบบการตกแต่งบ้านได้ง่าย ผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้เวลาไม่นาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น