การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ ในศตวรรษที่ 21 Development of a Local Curriculum Using Local Learning to Promote Life and Career Skills Indicators on the 21st Century
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาระดับทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่คํา (ประชานุเคราะห์) จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่21 2) แบบประเมินผลงานและพฤติกรรมการเรียนรู้ 3)แบบประเมินระดับทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบไปด้วย 6 หน่วยคือ (1)ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นน่ารู้ (2)สวนม่วนใจ๋ เกษตรพอเพียง (3) สืบสานภูมิปัญญาปุ๋ยหมักชีวภาพ (4)รอบรู้งานปั้นตุ๊กตาดินเผา (5)เรียนรู้งานผ้าปักมือสันกองและ(6)สืบทอดจักสาน ดอกไม้จากตอกไม้ไผ่ ระยะเวลาหน่วยละ 3 ชั่วโมง 2)ผลการประเมินผลงานและพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 และ3)ผลการประเมินระดับทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 อยู่ในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและ
พัสดุภัณฑ์.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: : โรงพิมพ์อลีนเพรส.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชบา พันธ์ศักดิ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงาน
อย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วีพรินท์ 1991.
ดารุณี เดชยศดี. (2562). เรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้เพื่อ
ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนการรู้ที่มีประสิทธิภาพ. บริษัทด่านสุทธา
การพิมพ์.
นันทวัน จันทรกลิ่น. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจดัการคณุ ภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนใน
ศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านเนินมะปรางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 2. ปริญญาศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
ปนัดดา นกแก้ว. (2564). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัด
สมุทรปราการ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ประเวศ วะสี. (2537). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิปัญญาร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย.
พงษ์ศักดา นามประมา. (2557). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน ด้วยรูปแบบ
การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในรายวิชา เพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 สําหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภูรินท์ ชนิลกุล. (2563, ตุลาคม-ธนวาคม). เรื่องการพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียน
เขตพื้นที่สูงจังหวัดตาก. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), หน้า159-171.
ยุพยง วุ้นวงษ์. (2561, เมษายน-มิถุนายน). เรื่องกลยุทธ์การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะ
อาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารรวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 14(4), หน้า 159-170.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตรวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่2.
กรุงเทพฯ:โอเพ่นเวิลด์.
วนิดา ขาวมงคล เอกแสงศรี. (2546). หลักการสอนพัฒนาทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเพพฯ: มูลนิธิสดศรี –สฤษดิ์วงศ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2558). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา.
กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิภาวี ศิริลักษณ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.พิษณุโลก
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
ศักดิ์นคร สีหอแก้ว. (2558). รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 9(1), 53-66.
อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บริษัทสํานักพิมพ์บรรณกิจ1991.