ชุมชนนิยมฐานคิดสู่การสร้างต้นแบบการจัดการตนเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง ชุมชนนิยมฐานคิดสู่การสร้างต้นแบบการจัดการตนเอง ได้นำเสนอรากฐานความรู้แนวคิดชุมชนนิยมที่ได้รับอิทธิจากอุดมการณ์สังคมนิยม อุดมการณ์อนาธิปไตยและอุดมการณ์อนุรักษ์ที่มีจุดยืนบนหลักการให้ชุมชนเกิดความร่วมมือ พัฒนาตนเองให้เข้มแข็งบนฐานวัฒนธรรมมุ่งสู่ชุมชนจัดการตนเอง เชื่อว่าการพัฒนาประเทศชาติที่เข้มแข็งย่อมมากจากชุมชนที่เข้มแข็ง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนคอยสนับสนุนแนวคิดและกระบวนการ เพื่อสร้างความตระหนักในสิทธิชุมชน วัฒนธรรมชุมชนและเห็นคุณค่าต่อการจัดการปัญหาด้วยตนเอง ในบทความนี้ยังได้นำเสนอกรณีชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ 1. ชุมชนบ้านผาชัน จังหวัดอุบลราชธานี 2. ชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์ 3. ชุมชนบ้านคูขาด จังหวัดบุรีรัมย์ 4. ชุมชนบ้านเสม็ด จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 4 ชุมชนต้นแบบสะท้อนให้เห็นถึงการจัดการตนเองในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน พร้อมทั้งเสนอแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนนิยมสู่การจัดการตนเอง ภายใต้คำว่า "Enough" คือ 1 E: Experience คือ เรียนรู้ประสบการณ์ 2. N: Necessary คือ พัฒนาบนพื้นฐานความจำเป็นของประชาชน 3. O: Own คือ สร้างความตระหนักและรู้สึกความเป็นเจ้าของในโครงการพัฒนา 4. U: Useful คือ โครงการพัฒนาต้องเกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม 5. G: Goal คือ มีทิศทางเป้าหมายการขับเคลื่อนที่ชัดเจน 6. H: Harmony คือ เน้นการสร้างความสามัคคีของประชาชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กรรณิการ์ เดชประเสริฐ ยุทธพล ทวะชาลี และ ปริชา มารี เคน. (2558). ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 2 (1) ; 112-134.
กล พรมสำลี และคณะ. (2550). โครงการศึกษารูปแบบการจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กรณีบ้านผาชัน ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
กาญจนา แก้วเทพ. (2540). ภาพรวมของ”พัฒนาการขององค์กรชุมชน”. ในองค์กรชุมชน กลไกเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เกษตรกรรุ่นใหม่ความหวังในการยกระดับรายได้ของเกษตรกร.วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 54 (2). ; 16-20.
กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). สิทธิชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
จุมพล หนิมพาณิช. (2562). การเมืองภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมือง : ทางออกของการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2557). ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550) ดัชนีความเข้มแข็งของชุมชน ความกลมกลืนระหว่างทฤษฏีฐาน
รากกับข้อมูลเชิงประจักษ์.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2562). ลัทธิสังคมนิยมกับความเท่าเทียมทางสังคมและสิทธิของชาวเกย์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 45 (1) 1-26.
นันทิยา หุตานุวัตร ณรงค์ หุตานุวัตร. (2551). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT.พิมพ์ครั้งที 7. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2559). ชุมชน: จากอุดมคติถึงเครื่องมือเพื่อการปกครอง. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11 (1) ; 9-33
พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2554). ปัจจุบัน/ปฏิปักษ์/ปฏิรูป. กรุงเทพฯ : :สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ภมรรัตน์ สุธรรม. (2546). พลวัตชุมชนกับการพึ่งตนเองในภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ : สถาบัน
วิถีทรรศ์.
ภัทรพร เล้าวงค์ รัฐสุชน อินทราวุธ ณภัทรพงศ์ วชิรวงศ์บุรี และวรวิช ลิ้มมณีวิจิตร. (2560). ศักยภาพคนไทยเพื่ออนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 54 (2) ; 21-27.
ยุคอนารยะ. (2553). ปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ไว้ลาย.
วรรณดี สุนธินรากร. (2560). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ :
สยามปริทัศน์.
ศุภชัย ศุภผล. (2558). ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น. เชียงใหม่ : คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2551). การพัฒนาการจัดการความขัดแย้งกรมีส่วนร่วมและสังคมเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ : นิวส์ เมคเกอร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานวางแผนการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). เกษตรกรยุคใหม่ เพื่ออนาคตประเทศไทย.วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 54 (2). ; 38-45.
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิกฤตหรือโอกาส การเรียนรู้ในยุค 4.0. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
เสรี พงษ์พิศ. (2551). แนวคิดแนวปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2544). มิติชุมชน : วิธีคิดท้องถิ่น ว่าด้วยสิทธิ อำนาจและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อุทิศ ทาหอม. (2561). การพัฒนาแบบยั่งยืน. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อุทิศ ทาหอม พิชิต วันดี และสำราญ ธุระตา. (2558). ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม.11 (2) ; 46-61.
_______. (2559). กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนจัดการตนเองบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชนริมลำน้ำชีของชุมชนเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 8 (2) ; 3-25.
อุทิศ ทาหอม สำราญ ธุระตา และคเนศ วงษา. (2562). การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม โดยการประยุกต์ใช้หลักเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพัฒนาสังคม. 21 (2) ; 1-27
Andrew Fiala. (2015). The Bloomsbury Companion to Political Philosophy. London : Bloomsbury.
Fu, Y., & Ma, W. (2020). Sustainable urban community development : A case study from the perspective of self-governance and public participation. Sustainability. 12(2) ; 617.
Heywood, A. (2017). Political ideologies: An introduction. Macmillan International Higher Education.
Morland, D. (2018). Anti-capitalism and poststructuralist anarchism. In Changing anarchism. Manchester University Press.
Qian, X., Cai, Y., & Yin, C. (2019). Driving Force of Grassroots Self-governance in Beijing's Neighborhoods : Social Capital. Community Network and Community Service Motivation. Lex Localis 17 (1) ; 159-177.
Turaev, A. (2020). The ideology of neo-conservatism: the role of socio-cultural and religious factors. Архив Научных Публикаций JSPI.
Welsh, J. (2003). "" I''is for Ideology: Conservatism in International Affairs. Global Society. 17(2) ; 165-185.