ผลของการฝึกโปรแกรม เอส คิว ที่มีผลต่อความเร็ว ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกโปรแกรม เอส คิว ที่มีต่อความเร็ว กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาการสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 28 คน จากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก โดยดำเนินการฝึกด้วยโปรแกรม เอส คิว เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน และเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทำการทดสอบวิ่ง 50 เมตร ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่ 1 และหลังสัปดาห์ที่ 4 และ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความเร็ว 50 เมตร ก่อนการฝึก เท่ากับ 7.79 และ .79 หลังสัปดาห์ที่ 4 เท่ากับ 7.69 และ .74 และหลังสัปดาห์ที่ 8 เท่ากับ 7.15 และ .72 2) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำของความเร็ว 50 เมตร ก่อนการฝึก หลังสัปดาห์ที่ 4 และ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบรายคู่ของระยะเวลาในการฝึกที่มีต่อความเร็ว 50 เมตร ของนิสิต หลังสัปดาห์ที่ 4 และ 8 แตกต่างจากก่อนการฝึก และหลังสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างจากหลังสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
Aleksandar, R., Vlatko, V., & Dario, B. (2014). “Influence of Specific Speed, Agility, and Quickness Training (SAQ) on Speed and Explosiveness of Football Players”. Sport Science. 7(1): 48-51.
American College of Sports Medicine. (2014). ACSM’s Guidelines for exercise testing and prescription. (9th ed ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Bloomfield, J., Ackland, T. R., & Elliott, B. C. (1994). Applied anatomy and biomechanics in Sport. Melbourne: Black Well Scientific publication.
Brown, L. E., Ferrigno, V., & Santana, J. C. (2000). Training for Speed, Agility, and Quickness. USA: Human Kineticss.
K Azmi, & N W Kusnanik. (2018). “Effect of Exercise Program Speed, Agility, and Quickness (SAQ) in Improving Speed, Agility, and Acceleration”. Journal of Physics. 945: 1-5.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for
Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
กรมพลศึกษา. (2557). คู่มือผู้ฝึกสอนกรีฑา. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2545). หลักการฝึกยกน้ำหนักเพื่อความสุดยอดของนักกีฬา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). หลักการและเทคนิคการฝึกกรีฑา. กรุงเทพฯ: ไทยมิตรการพิมพ์
ธีรพงษ์ พานิชรัมย์. (2560). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริก และ การฝึก เอส เอ คิวที่มีต่อ
ความเร็วใน การวิ่ง 50 เมตร. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิกร สนธิ์จันทร์. (2560). ผลของการฝึกโปรแกรมความเร็ว ความคล่องแคล่วและความว่องไว (เอส
เอคิว) แบบประยุกต์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งเบสของนักกีฬาซอฟท์บอล มหาวิทยาลัยบูรพา. วท.ม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พลเอก สุภาสงวน. (2558). ผลการฝึกเอส เอ คิวที่มีต่อความเร็วของนักกีฬาฟุตบอล.
(ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิทธิศักดิ์ บุญหาญ. (2555). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกเอส เอ คิว ที่มี
ผลต่อ ความเร็วในการวิ่ง 50 เมตร. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต)
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.