รูปแบบการจัดการระบบควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษตามมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ของชาวสวนทุเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

padon armart

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตสินค้าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ และศึกษารูปแบบการจัดการระบบควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษตามมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูล การนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ มาทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า มาสังเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปเป็นความเรียง และได้ผ่านการนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 


ผลการวิจัยพบว่า ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จะปลูกเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอ กันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอศรีรัตนะ ของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นดินภูเขาไฟเก่าผุพังมาจากหินบะซอลต์ และมีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้เนื้อทุเรียนมีรสชาติอร่อย เนื้อทุเรียนมีลักษณะแห้งนุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด รสชาติมันค่อนข้างหวาน เมล็ดลีบ กลิ่นไม่ฉุนมาก มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากทุเรียนที่ปลูกจากแหล่งอื่น และรูปแบบการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) สินค้าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เป็นการวางระบบตรวจสอบรับรองคุณภาพการผลิตและแหล่งที่มาของสินค้าของผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้า ที่ขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) เพื่อการรักษาคุณภาพมาตรฐานการผลิต สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาและคุณภาพของสินค้าให้กับผู้ซื้อสินค้าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เป็นการรักษาภาพลักษณ์ชื่อเสียงของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ และคุ้มครองชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน เพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นเครื่องมือทางการตลาดก้าวสู่ระดับสากลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2562). โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.

กรุงเทพฯ : กรมทรัพย์สินทางปัญญา, กระทรวงพาณิชย์.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2559). ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมทรัพย์สินทางปัญญา, กระทรวงพาณิชย์.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ. (2560). ยุทธศาสตร์การค้าจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ.

รายงานการวิจัย รายงานทางวิชาการ และรายงานประจำปี

วิธัญญา จงพิพัฒนสุข. (2558). การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความสามารถการจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สู่ความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา สุภีมารส และคณะ. (2528). การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออก. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารสารภาษาไทย

พัชญ์วีร์ พลพานิชย์. (2561, มกราคม-มิถุนายน). “รูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์.” วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, ปีที่ 13 (ฉบับที่ 1) : หน้า 97-112.

สารสนเทศจากเว็บไซต์ของบุคคลที่ไม่ระบุแหล่งหรือหน่วยงานที่สังกัด (ไทย)

สํานักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ. (19 ตุลาคม 2561). “รายงานผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัด ศรีสะเกษ ปี 2561”. สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, [รายงานการสำรวจ]. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561, จาก http//sisaket.doae.go.th.