การพัฒนามโนมติเรื่องฤดูกาลและการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์โดยใช้โปรแกรม Stellarium ร่วมกับ Class Action
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
มโนมติดาราศาสตร์เรื่องฤดูกาลและการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นนามธรรมยากต่อการอธิบายของครูให้นักเรียนเข้าใจ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงมโนมติฤดูกาลและการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการสอนโดยใช้โปรแกรม Stellarium ร่วมกับ Class Action กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาเคมี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 33 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดาราศาสตร์และอวกาศในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบปลายเปิด จำนวน 10 ข้อ ใช้วัดความเข้าใจมโนมติฤดูกาล (1, 2, 3, 4 และ5) และมโนมติการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ (6, 7, 8, 9 และ10) ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัย พบว่านิสิตครูส่วนใหญ่มีมโนมติคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับฤดูกาลและการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ก่อนเรียน แต่หลังจากนิสิตได้รับการสอนแบบบรรยายออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Stellarium และ Class Action ทำให้นิสิตส่วนใหญ่มีความเข้าใจมโนมติฤดูกาลและการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ถูกต้อง
คำสำคัญ : ฤดูกาล การเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ มโนมติ สเตลลาเรียม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
(ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). สืบค้นจาก
http://opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/general/123(2).pdf
นุชนารถ แสนพุก. (2559). ความเข้าใจดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและดวงดาวบนท้องฟ้า.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิทักษ์พงษ์ สมปาน และกรีฑา แก้วคง. (2561). มโนทัศน์ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับการเกิดฤดู. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ศึกษา, 1(2), 162-170.
สุวิทย์ คงภักดี. (2553). ผลของการสอนดาราศาสตร์แบบสืบเสาะโดยใช้นวัตกรรม
แบบจำลองระบบโลกดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Ampartzaki, M., & Kalogiannakis, M. (2016). Astronomy in early childhood
education: A concept-based approach. Early Childhood Education
Journal, 44(2), 169-179.
Zotti, G., Hoffmann, S. M., Wolf, A., Chéreau, F., & Chéreau, G. (2021). The
Simulated Sky: Stellarium for Cultural Astronomy Research.
Journal of Skyscape Archaeology, 6(2), 221–258.
https://doi.org/10.1558/jsa.17822
Jansri, S. & Ketpichainarong, W., (2020). Investigating In-service Science
Teachers Conceptions of Astronomy, and Determine the
Obstacles in Teaching Astronomy in Thailand. International
Journal of Educational Methodology, 6(745), p.745.
Lelliott, A., & Rollnick, M. (2010). Big ideas: A review of astronomy
education research 1974 – 2008. International Journal of Science
Education, 32(13), 1771-1799.
Plummer, J. D., Waskoa, K. D., & Slagle, C. (2011). Children learning to
explain daily celestial motion: Understanding astronomy across
moving frames of reference. International Journal of Science
Education, 33(14), 1963–1992.
https://doi.org/10.1080/09500693.2010.537707
Stover, Shawn; & Saunders, Gerry. (2000). Astronomical misconceptions
and the effectiveness of science museums in promoting
conceptual change. Journal of Elementary Science Education,
(1): 41-52.
Vosniadou, S., & Skopeliti, I. (2017). Is it the earth that turns or the Sun
that goes behind the mountains? students’ misconceptions about
the day/night cycle after reading a science text. International
Journal of Science Education, 39(15), 2027-2051.