แนวทางการพัฒนาการสื่อความหมายแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์บ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ยุวดี จิตต์โกศล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพการนำไปใช้ของเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีความสนใจการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ และใช้เทคโนโลยีในการท่องเที่ยว จำนวน 414 ราย วิธีการเลือกตัวอย่างไม่ใช้ความน่าจะเป็น (nonprobability sampling) โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 274 ราย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 - 30 ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีอาชีพ ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ มีรายได้น้อยกว่า 5,000  บาท ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาคือ จังหวัดอุบลราชธานี มีประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ต 16 – 20 ปี ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ต 10 ชั่วโมงใน 1 วัน ส่วนใหญ่ไม่เคยเดินทางท่องเที่ยวที่บ้านคูเมือง ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการนำไปใช้ของเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับดี ทุกประเด็น และ 2) ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ดังนี้ 2.1 ส่วนประกอบสำคัญบนหน้าเว็บเพจ พัฒนาหน้าเว็บเพจโดยมีส่วนประกอบสำคัญของเว็บเพจที่จำเป็นต้องมีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนหัวของหน้า ดำเนินการปรับโครงสร้างของเว็บไซต์ จัดหมวดหมู่ให้เหมาะสม พร้อมเพิ่มหัวข้อให้ครอบคลุมและปรับขนาดรูปภาพให้เหมาะสมกับขนาดของเว็บเพจ 2) ส่วนของเนื้อหา (Body) ดำเนินการเพิ่มวิดีโอแนะนำข้อมูลของบ้านคูเมือง และข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของบ้านคูเมือง 3) ส่วนท้ายของหน้า (Footer) ดำเนินการโดยได้ใส่ข้อมูลที่ตั้ง และช่องทางการติดต่อของบ้านคูเมือง 2.2 การเลือกใช้สีในการออกแบบเว็บไซต์ โดยใช้โทนสีน้ำตาลเหมาะสมกับบ้านคูเมือง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

ธีรวุธ พุ่มเอี่ยม, พระครูโกศลวชิรกิจ และฆัมภิชา ตันติสันติสม. (2562). การพัฒนาเว็บไซต์นำเสนอวัดประดู่ลาย จ.กำแพงเพชร ด้วยภาพ 3 มิติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 6(1), 95-103.

ไพศาล กาญจนวงศ์ และ รักธิดา ศิริ. (2561). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 101-113.

เพ็ญนภา จุมพลพงษ์, พันธ์ศักดิ์ พึ่งงาม และสุธิษา เชญชาญ. (2560). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ จังหวัดลพบุรี. วิจัยศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วิรัญชนา ใจสม. (2560). การศึกษาปัจจัยการรับรู้สื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. รายงานการศึกษาอิสระ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ยุวดี จิตต์โกศล และ คณะ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเทคนิคการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์. รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุขุม คงดิษฐ์ และ ธารนี นวัสนธี. (2561). การสื่อความหมายแหล่งท่องเที่ยวนิเวศเกษตรอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการศึกษาอิสระ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

เว็บไซต์

belief company. (2560). หลักการออกแบบเว็บขั้นพื้นฐานพร้อมองค์ประกอบและรูปแบบโครงสร้าง.

เข้าถึงได้จาก https://www.1belief.com/article/website-design/ สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564

Buffohero. (2559). การเลือกสีในการออกแบบเว็บไซต์. เข้าถึงได้จากhttps://buffohero.com/learning-center/ สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564

WE ARE SOCIAL, (2561). สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก “ไทย” เสพติดเน็ตมากสุดในโลก-“กรุงเทพ” เมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด. เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-digital-report-2018/ สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง. (2559). การพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหาร. เข้าถึงได้จาก https://moc.ocsc.go.th/sites/default/files/00_1_krathrwngethkhonolyiisaarsnethsaelakaarsuuesaar_59.pdf สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2558). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เข้าถึงได้จากhttps://www.mcu.ac.th/article/detail/14329. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561)

คู่มือการพัฒนาผู้สื่อความหมายเบื้องต้น. เข้าถึงได้จาก

https://tis.dasta.or.th/dastaknowledge/wp-content. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564