การพัฒนาความสามารถในการให้คำแนะนำผู้ปกครองในการดูแลเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

พัชรี ชีวะคำนวณ
ขจิตพรรณ ทองคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้คำแนะนำผู้ปกครองในการดูแลเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานและเพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 ต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 54 คนซึ่งผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง One group  pretest–posttest design


ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 รายวิชาการให้การศึกษาผู้ปกครองและการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการศึกษานักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 รายวิชาการให้การศึกษาผู้ปกครองและการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานนักศึกษามีความพึงพอใจกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาการให้การศึกษาผู้ปกครองและการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.62 (S.D.=0.53) โดยมีความพึงพอใจสามอันดับแรกคือ ความพึงพอใจในด้านกระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.76 (S.D.=0.42) รองลงมาคือความพึงพอใจในด้านการวัดและประเมินผล
การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.68 (S.D.=0.47) และอันดับที่สามคือ ความพึงพอใจในด้านผู้สอน ค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.66 (S.D.=0.47)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขา

ครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)

กฤติยา จงรักษ์และคณะ. (2554). วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.ปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning): รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. เอกสารประกอบการนำเสนอแนวคิดและแนวทางโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่ม “การเรียนรู้เพื่อการพัฒนากระบวนการคิด” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (อัดสำเนา)

ทิศนา แขมมณี. แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับระบบและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน. ม.ป.ป. (อัดสำเนา)

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, Benjamin S. (1976) Taxonomy of Educational Objective Handbook K: Cognitive Domain. New York : David Mc kay Company Inc.

Hartman, L.G., & Chard, S. C. (1995). Project in early year. Childhood Education

Katz, A. J., & Chard, S. C. (1994). Engaging children’s minds : The project approach. New Jersey : Ablan.

Whitehead, Alfred N. (1967). The Aims of Education and other Essay. New York : The Free press.