การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก

Main Article Content

ปาริชาต แก้วสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา 2) ระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการร่วมกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการไว้วางใจกัน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล 2) การดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และกระบวนการบริหารและการจัดการ 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับมาก (rxy= .651) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการร่วมกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพผู้เรียน ได้ร้อยละ 46.1 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z¢y = .305(Z5) + .211(Z4) + .204(Z1)

Article Details

How to Cite
แก้วสาร ป. (2021). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 16(2), 109–121. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/255238
บท
บทความวิจัย