รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านกองพระทราย ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ราเมศร์ พรหมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมชุมชนบ้านกองพระทราย ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านกองพระทราย ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม การเดินสำรวจ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า องค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมชุมชนบ้านกองพระทราย ได้แก่ 1 องค์ความรู้ภายในชุมชน คือ ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาเกษตรผสมผสาน  ความสามัคคี การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน เป็นต้น 2. องค์ความรู้ภายนอก คือ  นโยบายรัฐบาล การสนับสนับจากหน่วยงานภาครัฐ กระแสการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ชุมชนบ้านกองพระทรายเป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 15 ไร่  บ้านกองพระทรายเป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 15 ไร่ ในฐานะทรัพยากรร่วมกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ การบริหารจัดการน้ำ การทำเกษตรผสมผสาน การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และการปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น ปัจจุบันชุมชนได้ขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรตำบลปะคำ นับเป็นหนึ่งในชุมชนที่ใช้พลังการเรียนรู้ จนเกิดผลการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

How to Cite
พรหมชาติ ร. (2021). รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านกองพระทราย ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 16(2), 35–54. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/253539
บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค. (2563). โควิด 19 กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 57 (2), 36-51.
กรอบศักดิ์ ภูตระกูล. (2561). ปฏิรูปประเทศ ร่วมคิด ร่วมใจ สร้างไทยไปด้วยกัน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 55 (2), 4-14.
กิตติมา ศิวะอาทิตย์กุล. (2558). การบริหารจัดการการใช้หญ้าแฝกอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2560). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (2561-2564). บุรีรัมย์ : สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์.
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). รักษ์ดิน น้ำ ป่า ใช้ประโยชน์อย่างรู้ค่า สร้างฐานการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน.วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 55 (2), 4-14.
จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา หน้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (10), 4930-4943.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2553). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ วีระกันต์. (2557). คู่มือดำเนินขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนสู่อาหารเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. (2550). คู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ธรรมชาติของดินและปุ๋ย. โครงการรวมพลังพลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย.มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน. กรุงเทพฯ : หจก.กร ครีเอชั่น.
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2558). พุทธกับการบริหาร. พะเยา : เจริญอักษร.
มังกร ตัณฑะศิลป์ สุกัญญา เอมอิ่มธรรม และ เพ็ญศรี เจริญวานิช. (2555). การพัฒนาศักยภาพพนักงานใน
ธุรกิจก่อสร้างกรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 (1), 33-50.
วิทยากร เชียงกูล. (2554). เศรษฐกิจระบบนิเวศ เพื่อโลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2563). การเสริมพลังชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สภานโยบายการวิจัยและนวัตกรรม, 2560). ร่างยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.256 0-2579). กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวุฒิ วรวิทย์พินิต วรรณวีร์ บุญคุ้ม และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University. 10 (2), 1657-1674.
อภิชัย พันธเสน ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ ฐิติพร ศิริพันธ์ และ สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ. (2550). สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2542). หนังสือชุดโครงการกับการจัดการทรัพยากร เรื่อง “สิทธิการเข้าถึงทรัพยากร” กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อุทิศ ทาหอม พิชิต วันดี และสำราญ ธุระตา. (2558). ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 11 (2), 44-59.
อุทิศ ทาหอม และ สุจิตรา ยางนอก. (2562). แนวทางการพัฒนาเพิ่มทักษะองค์ความรู้สู่การเป็นนักพัฒนาอัจฉริยะ (Smart Developer) ของนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 14 (2), 85-98.
อุทิศ ทาหอม แตงกวา โอทารัมย์ และอัมพวัฒน์ กรดรัมย์. (2562). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มน้ำพริกบ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 38 (1), 19-42.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2558). ข้อสังเกตว่าด้วยแนวทางการกระจายอำนาจของคณะทำงานการปฏิรูปด้านการปกครองท้องถิ่น และข้อควรพิจารณาในการปฏิรูปการกระจายอำนาจแนวเศรษฐศาสตร์การเมืองท้องถิ่น. วารสารเศรษฐกิจ
การเมืองบูรพา. 3 (2) ; 105-136.