การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการ หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมจังหวัดบุรีรัมย์ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

วิไลรัตน์ ยาทองไชย
ชูศักดิ์ ยาทองไชย
ปุริม ชฏารัตนฐิติ
พวงเพชร ราชประโคน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการ 2) พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการ และ3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อช่องทางการจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการหมู่บ้านท่องเที่ยวไหมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยว กรรมการหมู่บ้าน และสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมบ้านสนวนนอก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามรูปแบบการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย แบบประเมินความสามารถการใช้งานระบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการที่เหมาะสมซึ่งชุมชนมีความต้องการคือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับลูกค้า 2) ผลการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันบนสถาปัตยกรรมไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ที่มีการทำงานหลัก 2 ส่วนคือ ส่วนบริการลูกค้า ประกอบด้วย หน้าหลัก หน้าเนื้อหาฐานการเรียนรู้ แนะนำโฮมสเตย์และกิจกรรมการเยี่ยมชมหมู่บ้าน แคตตาล็อกสินค้า ตะกร้าซื้อผลิตภัณฑ์ การจองโฮมสเตย์ การลงทะเบียนผู้ใช้ และส่วนบริการผู้ดูแลระบบ ประกอบด้วย การจัดการข้อมูลสินค้าและบริการ ข่าวประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการชมหมู่บ้าน การสั่งซื้อ และการจองบริการ โดยมีผลการประเมินความสามารถในการใช้งานได้ของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อช่องทางการจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). “พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน”. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-doc-archives/thailand-40/1625-blueprint-thailand-4.
จารุณี ภัทรวงษ์ธนา. (2558). การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์สินค้าหัตถกรรมชุมชนตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยฟาอีสเทิร์น.
จีราภรณ์ สุธัมมสภา. (2557). “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์”. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก http://stouonline.stou.ac.th/courseware/
courses/management/content/modules/market%20module8.pdf
ชยภัทร พุ่มจันทร์. (2562). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าซิ่นตีนจก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนินทร์ มหัทธนชัย และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบดิจิทัลคอมเมิร์ซเพื่อส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นริสรา ลอยฟ้า. (2563). “การเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมลายลูกแก้วตำบลนิคมพัฒนาอำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ.” วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8(1) : 214 - 226.
ปุญญพัฒน์ อนันตธนวิทย์. (2558). การศึกษาและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ.
สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). “รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2561”. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 15 กรกฏาคม 2562, จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2018.html.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). “นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2565”. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2563, จาก https://backend.tsri.or.th/files/trf/2/docs/Policy_and_Strategy_of_Thailand_HESI_2563-2570_and_Thailand_SRI_Plan_2563-2565.pdf
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (มุมมองด้านการบริหาร)E-commerce(A Managerial Perspective). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อุไรวรรณ์ รักผกาวงศ์. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนส่งเสริมการตลาดด้านการขายผ้าทอมือ จังหวัดพิษณุโลกผ่านอินเทอร์เน็ต. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ : เชียงใหม่.
Yang, D.J., Chou, D.H. & Liu, J. (2012). “A study of key success factors when applying e-commerce to the travel industry”. International Journal of business and Social Science