ปัจจัยและอิทธิพลของการสนับสนุนจากองค์กร ที่มีผลต่อคะแนนผลงานในมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ปิยะณัฐ พรมสาร
สุภาภรณ์ ทิมสำราญ
ณัฐธิดา เถื่อนหรุ่น
บุษยรัตน์ ศรีคง

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและอิทธิพลของปัจจัยด้านการสนับสนุนของส่วนงานที่มีความสัมพันธ์ต่อคะแนนของผลงานในมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2563 โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงซึ่งเป็นผลงานที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมประเภทการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์และวาจา จำนวน 284 ผลงาน และข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานการประเมินตนเองส่วนงานประจำปี 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าผลงานมีคะแนนอยู่ในช่วง 40 – 60 คะแนน (ร้อยละ 52.11) เป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนงานใน 3 ประเด็นคือ 1) มีผู้บริหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายพัฒนาคุณภาพอย่างชัดเจน (ร้อยละ 90.14) 2) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่อำนวยการพัฒนาคุณภาพและจัดการความรู้ของส่วนงาน (ร้อยละ 92.96) 3) มีระบบพี่เลี้ยง หรือเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือมหกรรมคุณภาพ (ร้อยละ 87.68) โดยการสนับสนุนของส่วนงานทั้ง 3 ประเด็นร่วมกันอธิบายความผันแปรของค่าคะแนนผลงานที่จัดส่งเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร้อยละ 10.3 ประเด็นที่มีอิทธิพลในการทำนายการเปลี่ยนแปลงค่าคะแนนผลงานในมหกรรมคุณภาพได้ดีที่สุดคือ ส่วนงานมีผู้บริหารที่ทำฝ่ายพัฒนาคุณภาพหรือฝ่ายจัดการความรู้อย่างชัดเจน (β=0.176) ส่วนงานมีระบบพี่เลี้ยง เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือมหกรรมคุณภาพ (β=0.157) และส่วนงานมีคณะกรรมการที่อำนวยการพัฒนาคุณภาพและจัดการความรู้ของส่วนงาน (β=0.132) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร กระจางแสง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560 : กันยายน-ธันวาคม). “อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่สงผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(3) : 116-129.
นิติธร เจริญยิ่ง ชาตรี เกษโพนทอง และอิทธิวัตร ศรีสมบัติ. (2561 : กรกฎาคม-ธันวาคม). “แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 20(1) : 169-180.
เนตรนภัส จันทร์พ่วง และดุสิต อธินุวัฒน์. (2552 : มกราคม-เมษายน). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”. Thai Journal of Science and Technology. 5(1) : 1-19.
พัชรกันย์ เมธาอัครเกียรติ และประสพชัย พสุนนท์. (2561 : มกราคม-เมษายน). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 11(1) : 1944-1960.
พิณนรา เพชรรุ่ง. (2552). “ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก การรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การ และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง”. วิทยานิพนธ์ ศ.ม.(จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิราวรรณ หนูเสน สุวรรณี แรงครุฑ และ สัญชัย ทองสุกใส (2019 : พฤษภาคม-สิงหาคม). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล”. Siriraj Medical Bulletin. 12(2) : 87-94.
ภควรรณ สีสวย และเพ็ญศรี ชื่นชม. (2554 : มกราคม – มิถุนายน). “ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 7(1) : 174-190.
มณฑิชา ชัยชะนะมงคล และจีรพร แปงเครื่อง. (2563 : กรกฎาคม-ธันวาคม). “ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”. Mahidol R2R e-journal. 7(2) : 129-139
มาริสสา อินทรเกิด และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์. (2559 : กรกฎาคม-ธันวาคม). “การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง”. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 8(2) :129-144.
รัมย์ประภา บุญทะระ และสุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์. (2563 : กรกฎาคม-ธันวาคม). “วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทางานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7(2) : 213-226.
ริญญาภัทร์ พสิษฐ์กุลเวช. (2560 : กรกฎาคม-ธันวาคม). “แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทางานประจาสู่งานวิจัยของ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม”. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 4(2) : 89-104
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). “แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 – 2565 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563”. สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.ocsc.go.th/civilservice
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ และคณะ. (2554). การวัดความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อภิชา ธานีรัตน์. (2555 : พฤษภาคม-สิงหาคม). “รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครูศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร”. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(2) :137-151.
อรสา จรูญธรรม. (2562 : มกราคม-เมษายน). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(1) : 190-201.
อัจฉรีย์ มานะกิจ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2563 : พฤศจิกายน-ธันวาคม). “บทบาทของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร การรับรู้การสนับสนุนของเพื่อนร่วมงาน และการรับรู้การสนับสนุนของผู้บังคับบัญชาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทางาน ผ่านความมุ่งมั่นทุ่มเทของข้าราชการส่วนกลาง กรมการพัฒนาชุมชน”. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 12(6) : 2267-2282.
Deming, W. Edwards (1982). Out of the Crisis, Center for Advanced Engineering Study, Massachusetts : Massachusetts Institute of Technology, Cambridge.
Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: mastering the 5 elements for corporate learning. California : Davies-Black.
Shewhart, W. A. (1939). Statistical Method from the Viewpoint of Quality Control. New York : dover publications, Inc.
Waal, A. (2012). Characteristics of High Performance Organisations. Journal of Management Research. 4(4) : 39-71.