รูปแบบการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

รสนันท์ มานะสุข
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและรูปแบบของคลังปัญญาผู้สูงอายุในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงราย และประเมินรูปแบบการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้รูปแบบการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงรายที่เหมาะสมมากขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ


            ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันผู้ถ่ายทอดเป็นชายและหญิง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีความรู้/คลังปัญญาในด้านอุตสาหกรรม หัตถกรรม จักสานและโอท็อป ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และจริยธรรม ผู้รับการถ่ายทอดเป็นชาย มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในงานที่ทำ 1-10 ปี รูปแบบการถ่ายทอดคลังปัญญา ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้/คลังปัญญาจากการศึกษาด้วยตนเอง มีการประเมินผลทั้งก่อนและหลังปฏิบัติ ผลที่เกิดจากรูปแบบการถ่ายทอด ทำให้ผู้ถ่ายทอดเกิดความหวงแหน เกิดจิตสำนึกเห็นคุณค่าในมรดกของท้องถิ่นและเป็นแรงจูงใจในการอนุรักษ์คลังปัญญา  เมื่อประเมินรูปแบบดังกล่าวพบว่า ทำให้ได้รูปแบบใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาและการถ่ายทอดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพทางใจ. นนทบุรี:กรมฯ.
ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. (2553). กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรี
ประเภทขลุ่ยและแคนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี(วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.นครปฐม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (น. 67). กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
พระมหาเรื่องเดช ศรีประสม (ถาวรธมโม). (2553). ศูนย์การเรียนรู้:การพัฒนารูปแบบเพื่อบริการ
ชุมชน ของวัดในภาคตะวันออก(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:เจ. เอส. การพิมพ์.
วีระศักดิ์ มณีรัตน์. (2563). สารประธานสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำจังหวัดเชียงราย. สืบค้น 10 กันยายน จาก,
2563, จาก http://www.scctchiangrai.com/ about.php.
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี, สิริวิท อิสโร, ชูเกียรติ มุทธากาญจน์, สมชาย ปัญญเจริญ และ
วรพงศ์ แสงผัด. (2559). ยุทธศาสตร์การนำคุณค่าของผู้สูงอายุมาสู่สังคมอย่างสร้างสรรค์
บนพื้นฐานการสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากรทุกวัย. วารสารวิทยาลัย
พยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(2), 112-115.
ศิริลักษณ์ รื่นวงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ
ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย(การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง:เชียงราย.
ศิริวรรณ สิริบุญ. (2555). เทคนิคการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ: การสัมภาษณ์
ส่วนบุคคลเชิงลึกและการสนทนากลุ่ม. เอกสารประกอบการสอนวิชา การวิจัย
สุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2551). การเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ของผู้สูงอายุ
(ฉบับสมบูรณ์) / ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และวรรณลักษณ์ เมียนเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. (น. 150).
กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ จาก
HDC กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2562, พ.ศ.2573 จากการคาดประมาณ
ประชากรของประเทศไทยพ.ศ.2553-2583. กรุงเทพฯ:สำนักงานฯ.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). โครงการคลังปัญญา.
สืบค้น 11 กันยายน 2563, จากhttp://www.ayutthaya.msociety.go.th/?page_id=1245.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2550). คู่มือการดำเนินงานอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
(อผส.). (น. 1-3). กรุงเทพฯ:สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.