ศักยภาพ ปัญหา และความต้องการของประชาชน: กรณีศึกษาบ้านเชียงอาดเหนือ หมู่ที่ 13 ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ชุติพงศ์ คงสันเทียะ
ศรัณย์ เจริญศิริ
สรัญญา จุฑานิล
ธีรพล วีระศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไปทั้งในระดับชุมชนและระดับครัวเรือนบ้านเชียงอาดเหนือ หมู่ที่ 13 ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย (2) ค้นหาศักยภาพ ปัญหา และความต้องการของประชาชนในหมู่บ้านเชียงอาดเหนือ หมู่ที่ 13 ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และ (3) สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและประชาชนบ้านเชียงอาดเหนือ หมู่ที่ 13 ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยใช้วิธีการศึกษาแบบสำรวจ (Survey research) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า บ้านเชียงอาดเหนือ หมู่ที่ 13 ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีลักษณะทางกายภาพ เป็นพื้นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ พื้นที่ราบลุ่มสลับกับที่ดอน ทำเกษตรรอบหมู่บ้าน และมีแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ลำน้ำสวย และ หนองบ่อ มีความสำคัญกับชุมชนในด้านการประมง ด้านการทำการเกษตร เป็นต้น ในด้านทรัพยากรและชีวภาพ มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่และชีวภาพออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ (1) ที่ดิน เป็น ที่ราบลุ่ม เป็นที่ราบต่ำ ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่ดินส่วนนี้จะถูกน้ำจากลำน้ำสวยท่วม ทำให้ไม่สามารถประกอบการเกษตรได้  (2) ป่าไม้ มีประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่ทั้งหมดภายในหมู่บ้าน (3) แหล่งน้ำ ประกอบด้วย ลำน้ำสวย เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดหนองคาย และหนองบ่อ และยังมีอ่างเก็บน้ำเชียงอาด เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีการใช้ประโยชน์ ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมโดยจำแนกเป็นการทำนาปี ซึ่งเป็นที่นิยมมาก ส่วนนาปรังมีบ้างเพื่อเป็นรายได้เสริมจากการทำนาปี ในปัจจุบันด้วยราคาในท้องตลาดที่ลดลง ทำให้ประชาชนมีการหารายได้เสริมจากการปลูกมันสำปะหลัง ยางพาราด้วยแต่ไม่มากนัก อย่างไรก็ดี มีการสร้างอาชีพใหม่ในหมู่บ้าน เพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ ในการทดแทนยางพาราที่ขายไม่ได้ คือการทำสวนปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้ ยังมีปศุสัตว์ในหมู่บ้าน ได้แก่ วัวและกระบือ เพื่อการค้า จับปลาน้ำจืดและหาของป่าไปขาย ส่วนกลุ่มอาชีพและกองทุนในหมู่บ้าน แบ่งเป็นกลุ่มอาชีพ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืด (กลุ่มปลาส้ม) กลุ่มเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ และ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย และในด้านสังคมและวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านประกอบไปด้วยคนพื้นเมืองหนองคายดั้งเดิม ส่วนทางด้านศาสนาและความเชื่อนั้น ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยจะเห็นได้จากวัดซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญที่มีจำนวนมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันทิมา จินโต. (2550). ศักยภาพของชุมชนย่านคลองดำเนินสะดวกในการจัดการการทองเที่ยวแบบสัมผัวัฒน ธรรมชนบท (Home stay). ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). ศักยภาพชุมชนและการมีส่วนร่วมพลเมืองในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การเป็น แหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวง: 6 (2); 265-294.
ตรียากานต์ พรมคำ. (2557). การศึกษาบริบทชุมชนเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในเขตตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์: 1 (2); 76-90.
นุชจรี ศรีอุปโย. (2559). การจัดการบริบทชุมชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตผ่าน เครื่องมือการศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น: 10 (3); 238-250.
ปกรณ์ ปรียากร. (2528). แนวความคิดว่าด้วยการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีชล ฉายาพงษ์. (2553). ศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรและชั้น ประทวนกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 2 ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมเจตน์ ผิวทองงาม จีรวรรณ ศรีหนูสุด วนิษา ติคำ จันจิรา เศรษฐพลอย อัมพวรรณ หนูพระอินทร์ และนิทัศน์ ไหมจุ้ย. (2561). พุมเรียง: บริบทชุมชน ฐานเศรษฐกิจ และทุนทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์: 10 (2); 353-375.
สายชล เทียนงาม อักษร ธัญญะวานิช ปริญญา ปั้นสุวรรณ มธุรส คุ้มประสิทธิ์ และจตุรงค์ ภิรมยา. (2561). การศึกษาความต้องการจําเป็นในการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าเสา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย: 10 (1); 120-130.
อนุชา ม่วงใหญ่. (2559). แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและท้องถิ่น ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 6 (3); 12-26.
Goodman, R. M., Speers, M. A., McLeroy, K., Fawcett, S., Kegler, M., Parker, E., Smith, S. R., Sterling, T. D., and Wallerstein, N. (1998). Identifying and Defining the Dimensions of Community Capacity to Provide a Basis for Measurement. Health Education & Behavior: 25 (3); 258- 278.
United Nations Development Program. (2009). Capacity Development: A UNDP Primer. [Online] Available at: capacity-development/capacity-development-a-undp-primer/CDG_PrimerReport_final_web.pdf> [Accessed on 28 November 2018].