การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22

Main Article Content

มารุต สุวรรณชัยรบ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการอยู่อย่างพอเพียง 2) ศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียงตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง 4) ศึกษาทักษะการปฏิบัติหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง และ 5) ศึกษาความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 33 คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหลักสูตรฝึกอบรม มีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.91 แบบทดสอบความรู้มีค่าความยากตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.63 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.60 และค่าความเชื่อมั่น 0.80 แบบประเมินทักษะการปฏิบัติมีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 แบบสอบถามความพึงพอใจมีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการอยู่อย่างพอเพียง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2) เนื้อหาของหลักสูตร 3) วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ 4) การประเมินผล

  2. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการอยู่อย่างพอเพียง มีประสิทธิภาพ 88.75/89.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

  3. ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. ทักษะการปฏิบัติหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

  5. ความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คุณาเพ็ง กิ่งมิ่งแฮ. (2552). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากแข้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
จักรา วงศ์กาฬสินธุ์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมโดยใช้หลักการเจริญสติปัฏฐาน 4 ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการอารมณ์ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน สกลนครพัฒนาการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการ
สอน สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จิราภรณ์ เกตุแก้ว. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฆนัท ธาตุทอง. (2550). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2552). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ เทคนิคการฝึกอบรมและการจัดสถานที่ประชุม/ฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : สวัสดิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือน.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. ปัตตานี : ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม.
นิพนธ์ ยศดา. (2556). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นนทวัฒน์ สุขผล. (2556). เทคนิคการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ : เอกซ์เปอร์เน็ท.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปฎล นันทวงศ์และไพโรจน์ ด้วงวิเศษ. (2543). หลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา : สถาบัน ราชภัฏสงขลา.
พระอำนาจ อตฺถกาโม. (2554). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์ กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัทธนันท์ ปั้นแก้ว. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยการบรูณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนสำรับครูผู้สอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
พิสมัย ถีถะแก้ว. (2545). หลักสูตรและการจัดการประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พรสวรรค์ แย้มกวีตระกูล. (2549). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ สำหรับครูโรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ภาณุภัทร ลิ้มจำรูญ. (2551). การพัฒนาชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วชิรดล คำศิริรักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและ
การสอน สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วัฒนา ตรงเที่ยง. (2553). การพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้น ประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรสาย สนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เซ็นเตอร์ดิสคัฟเวอรี่.
สุกัญญา คุ้มกลาง. (2553). การดำเนินงานการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรม สหกรณ์โรงเรียนขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหา
บัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็มเพรส.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : เดอะโนว์เลจเซ็นเตอร์.
สุมิตร คุณานุกร. (2520). หลักสูตรประถมศึกษา 2521 ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรดา ไชยสงคราม. (2555). กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ โจถาวร. (2556). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิพงษ์ ปานนาค. (2556). การพัฒนาแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรการฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). เรียนรู้บูรณาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อุษณีย์ โพธิสุข. (2543). การปฏิรูปการเรียนรูผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
Kolb, David A. (1970). Organization psychology: a book of readings. 2nd Ed. New York : Prentice –Hall.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum development theory and practice. New York : Brace & World.
Tyler, Ralph W. (1970). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago : University of Chicago Press.