คุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของนิสิตที่เรียนหมวดศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนิสิตที่เรียนหมวดศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1,820 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นิสิตที่เรียนหมวดศึกษาทั่วไปมีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 4.09) มีคุณลักษณะสูงเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.05) ด้านทักษะทางปัญญา ( = 3.96) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 3.94) และด้านความรู้ ( = 3.89) ตามลำดับ
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกตามกรอบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ รุ่นปีการศึกษา 2559-2560 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม :
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2561). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม ปีการศึกษา 2559. มหาสารคาม : กองแผนงาน มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปทุมพร เปียถนอม (2562 : มกราคม-มิถุนายน). “ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ
มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกระบวนวิชาการบริหารจัดการการประกัน
คุณภาพการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,” วารสารรามคำแหง
ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 1(1) : 31-39.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. 2558. (13 พฤศจิกายน 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552.
(31 สิงหาคม 2552). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 125 ง.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558.
(13 พฤศจิกายน 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง.
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2561). “การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ,” Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์และศิลปะ. 11(1) : มกราคม-เมษายน ; 1868-1882.
ศิราณี อินธรหนองไผ่ และจุฑามาศ คชโคตร. (2560 : กรกฎาคม-ธันวาคม). “ผลการเรียนรู้ตาม
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชน
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต,” วารสารพยาบาลตำรวจ. 9(2) : 109-110.
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561).
แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักศึกษาทั่วไป. (2558). หลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558. มหาสารคาม :
สำนักศึกษาทั่วไป.
สุวรรณี สิมะกรพินธ์ และคณะ. (2559). รายงานวิจัย เรื่อง การประเมินหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2561). การอุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bonwell, C., & Eison, J. (1991). Active learning: Creating excitement in the
classroom (AEHEERIC Higher Education Report No.1). Washington,
D.C.: The George Washington University, School of Education and
Human Development. Jossey-Bass.
Isabelle D. Cherney. (2011). Promoting Student Engagement: Programs, Techniques
and Opportunities, Chapter: Active Learning, Publisher: Society for the
Teaching of Psychology. Editors: Miller, Amsel, Marsteller, Beins, Keith,
Peden, pp.150-156.
John Dewey. (1916). Democracy and Education. The Macmillan Company.