ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการศึกษาอิสระและการสัมมนาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม

Main Article Content

จิรัชยา เจียวก๊ก
นวพล แก้วสุวรรณ
สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์

บทคัดย่อ

การนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการศึกษาอิสระและการสัมมนาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม จำนวน 36 คน ได้ดำเนินการสอนเนื้อหาในรายวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในลักษณะคู่ขนานกับการดำเนินโครงการวิจัยในรูปแบบการเขียนบทความวิจัยนั้น ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้วิจัยเป็นฐานส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการศึกษาอิสระและการสัมมนาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม สูงกว่าร้อยละ 90 ส่วนทักษะการวิจัยและการสัมมนา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลจากการพัฒนาทักษะการวิจัยและการสัมมนานั้นทำให้ได้แสดงศักยภาพและ ได้รับประสบการณ์ตรงทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนจนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตน โดยสามารถนำ บทความวิจัยไปเสนอในเวทีการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 1 เรื่อง ระดับชาติ จำนวน 10 เรื่อง ที่มีแต่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติคม คาวีรัตน์.(2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(2), หน้า 108-121.
ชลยา เมาะราศี. (2556). ผลการเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนกลับด้านบนเครือข่ายสังคม ในรายวิชาการวิเคราะห์และแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ปริวัตร เขื่อนแก้ว และทิพรัตน์ นพฤทธิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงสถิติของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(3), หน้า 81-98.
พัชรี จันทร์เพ็ง. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการวิจัยของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข, 1(2), หน้า 21-44.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2546). ก้าวสู่การศึกษาที่มีวิจัยเป็นฐาน (Research-based Education), กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรางคณา เวชพูล. (2559). การพัฒนาทักษะปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีสร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา BUS304 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. รายงานการวิจัย, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศิริพร ยุชัย. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน. รายงานการวิจัย, กรุงเทพฯ: โรงเรียนอัสสัมชัน.
สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์, กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนี บุญเติม. (2548). การเรียนการสอนที่มีวิจัยเป็นฐาน: ประมวลบทความ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีย์ พรหมเล็ก. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบดุสิตเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), หน้า 28-39.
Jaki, T., & Autin, M. (2009). Using a problem-based approach to teach statistics to postgraduate science students. MSOR Connections, 9(2), P. 40-47.
Ratsusaka, Ph. (2015). Develop teaching and learning styles by using research as an academic base, curriculum development for teacher professional students. Silpakorn Educational Research Journal, 7(1), P. 135-147.
Rosenshine, B. (2012). Principles of Instruction: Research based strategies that all teacher should know. American Educator, 36(1), P. 12-39.
Sun, J., & Buys, N. (2010). Developing postgraduate students’ statistical thinking in university: Evaluation of a statistical thinking learning environment model. Proceedings of EDULEARN10 Conference, 5th-7th July 2010, Spain.
Waite, S. J. & Davis, B. (2006). Developing undergraduate research skills in a faculty of education: motivation through collaboration. Higher Education Research and Development, 25(4), P. 403-419.