อิทธิพลของความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

บุญช่วง ศรีธรราษฎร์
อารยะรัตน์ ชารีแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรม ประสิทธิภาพ             การปฏิบัติงาน และทดสอบอิทธิพลของความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 178 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีบริษัทมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการพัฒนา ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการปฏิบัติ และด้านการเรียนรู้ และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพของงาน ด้านการทำงานเสร็จทันตามเวลา ด้านการประหยัดต้นทุน และด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ จากการทดสอบอิทธิพบ พบว่า 1) ความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรม ด้านความคิดสร้างสรรค์ มีอิทธิพลเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม (β = 0.337) 2) ความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรม ด้านการเรียนรู้          มีอิทธิพลเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม (β = 0.465) โดยตัวแปรทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ร้อยละ 53.80 (R2= 0.538) 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). ฐานข้อมูลบริษัท. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560. มาจาก จาก

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑามาศ จันทร์เปล่ง. (2553). ผลกระทบของนวัตกรรมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนัก
บัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย : แนวปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์
มีเดีย.
วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ และอาทิตยา อรุณศรีโสภณ. “ชุมชนแห่งนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์”วารสารนัก
บริหาร. 4(4): 6-8 มิถุนายน 2552.
สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา.
อุไรวรรณ เหล่าเจริญ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมความเป็นเลิศในการทำงานกับผลการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการกรมธนารักษ์. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4),
53-64.
สุภาพร แจ่มศรี. (2554). ผลกระทบของการเรียนรู้ทางการบัญชีอย่างต่อเนื่องที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของ
ผู้ทำบัญชีในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนุสรา ขจรนาม. (2560). ผลกระทบของความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน
ของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
Cronbach. (1970). Essentials of Paychological Testing. 3th ed. New York : Harper and Row.
Nunnally, C. Jum. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.