ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อบริการสายการบินไทยแอร์เอเชียของผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการต่อความตั้งใจซื้อบริการสายการบินไทยแอร์เอเชียของผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้โดยจังหวัดร้อยเอ็ดที่ใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สายการบินไทยแอร์เอเชียโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะแวดล้อมทางกายภาพ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านบุคลากรและพนักงาน และด้านสินค้าและบริการ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านสินค้าและบริการ (Beta =0.344) ด้านราคา (Beta =0.178) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Beta =0.325) และด้านบุคลากรและพนักงาน(Beta =0.274) ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชียของผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
ประเทศของผู้โดยสาร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและ
การท่องเที่ยว. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด. (2561). ข้อมูลท่าอากาศยานร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561. มาจาก
http://minisite.airports.go.th/roiet/about2277.html.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย : แนวปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ
อินเตอร์ มีเดีย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรัชญพัชร วันอุทา. (2555). การตัดสินใจของผู้โดยสารในการเลือกใช้สายการบินระหว่างประเทศ. วารสาร
มหาวิทาลัยนครพนม. 2(2), 83-90.
ปิยวรรณ ไกรเลิศ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อบริการสายการบิน ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสาย
การบินไทยสมายล์และสายการบินไทยแอร์เอเชีย เส้นทางกรุงเทพฯ-กระบี่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.
วรปรีชา กมลาศน์ ณ อยุธยา. (2558). ปัจจัยการเลือกใช้บริการของผู้โดยสารชาวไทยในเส้นทางการบินทวีป
ยุโรปบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการหมาบัณฑิต. สถาบันการ
บินพลเรือน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สมยศ วัฒนากมลชัย. (2556). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุมินทร เบ้าธรรม. (2558). วิจัยทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
Aaker, D.A.V. Kumer and G.S. Day. (2001). Marketing Research. 7thed. New York :
John Wiley & Sons.
Nunnally, C. Jum. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.
Suki, N. M., & Suki, N. M. (2017). Flight ticket booking app on mobile devices: Examining
the determinants of individual intention to use. Journal of Air Transport
Management, 62, 146-154.