การพัฒนาเอกสารคำสอนรายวิชาการออกแบบในงานอุตสาหกรรม สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

สฤษณ์ พรมสายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารคำสอน รายวิชาการออกแบบในงานอุตสาหกรรม สำหรับนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 /80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน


ด้วยเอกสารคำสอน รายวิชาการออกแบบในงานอุตสาหกรรม  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่เรียนวิชาการออกแบบในงานอุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ เอกสารคำสอน จำนวน 8 บท แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating seale)


 มี 5 ระดับ สถิติที่ใช้  ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวน


ทางเดียว


ผลจากการวิจัยพบว่า


  1. เอกสารคำสอน รายวิชาการออกแบบในงานอุตสาหกรรม มีประสิทธิภาพทุกบทโดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ E1 เท่ากับ 84.08 และ E2 เท่ากับ 82.50

  2. นักศึกษาที่เรียนด้วยเอกสารคำสอน รายวิชาการออกแบบในงานอุตสาหกรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกทิพย์ พัฒนาพัวพันธ์. (2543). สถิติเบื้องต้นทางการศึกษา. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิชาการ, กรม. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). หลักการสร้างแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน. กรุงเทพฯ:
วัฒนาพานิช.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพล พลีสัตย์. (2551). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชาวัสดุวิศวกรรมไฟฟ้า
เรื่อง พอลิเมอร์ เซรามิกและแก้ว แม่เหล็กและการนำไฟฟ้ายิ่งยวด ของวัสดุ. กำแพงเพชร:
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วิษณุ บัวเทศ. (2551). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรง หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2551). ผลของการสอนโดยใช้บทบาทสมมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมกลุ่มของนักศึกษาโปรแกรมวิชาเคมี ชั้นปีที่ 2. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏกำแพงเพชร.