กระบวนการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดจิตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน

Main Article Content

ดร.เทพพร โลมารักษ์
บัญชา นวนสาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษากระบวนการพัฒนาครูในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์โดยบูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย ระบบพี่เลี้ยง และจิตตปัญญาศึกษา ประเมินและติดตามผลการพัฒนาครูในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์โดยบูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย ระบบพี่เลี้ยง และจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการการเลือกแบบเจาะจง เป็นครูในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย ระบบพี่เลี้ยง และจิตตปัญญาศึกษา โปรแกรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย ระบบพี่เลี้ยง และจิตตปัญญาศึกษา แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนของครู ตามตัวชี้วัดการประเมินนักศึกษาครูด้านการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย จิตตปัญญาศึกษา และระบบพี่เลี้ยง และแบบประเมินคุณภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย ระบบพี่เลี้ยง และจิตตปัญญาศึกษา ของครูในสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า


  1. ครูประจำการสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการที่บูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย จิตปัญญาศึกษา และระบบพี่เลี้ยง ในการตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการสอน การแนะนำและการโค้ช และทราบแนวทางในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ

  2. การบูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย จิตปัญญาศึกษา และระบบพี่เลี้ยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาต่าง ๆ ทำให้ครูผู้สอนสามารถบูรณาการเทคนิคการสอนและกิจกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามกระบวนการที่ได้อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย จิตปัญญาศึกษา และระบบพี่เลี้ยง

  3.   ครูประจำการมีทักษะและสมรรถนะด้านการสอน ครูสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการที่บูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย จิตปัญญาศึกษา และระบบพี่เลี้ยง ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้

                   3.1 พฤติกรรมการปฏิบัติตนของครู ตามตัวชี้วัดการประเมินการปฏิบัติการสอนของครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย จิตปัญญาศึกษา และระบบพี่เลี้ยง ในด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และด้านจรรยาบรรณต่อสังคม อยู่ในระดับมากทุกด้าน


                   3.2 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ครู ตามตัวชี้วัดการประเมินครูที่บูรณาการแนวคิดโครงงานฐานวิจัย จิตปัญญาศึกษา และระบบพี่เลี้ยง ด้านการกำหนดจุดประสงค์ ด้านการออกแบบการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมิน และด้านการใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

Article Details

How to Cite
โลมารักษ์ ด., & นวนสาย บ. (2019). กระบวนการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดจิตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(2), 57–73. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/209802
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
กาญจนา คุณรักษ์. (2540). การออกแบบการเรียนการสอน.นครปฐม: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กาญจน์วริษฐา ชูกำลัง .(2557). แนวทางการพัฒนาครูด้านวิชาการในโรงเรียน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 2: บทความ
วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ. 2558
โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). จิตตปัญญาศึกษา คืออะไร. (พิมพ์ครั้งที่ 1).
นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชลลดา ทองทวี และคณะ. (2551). บทความการประชุมวิชาการประจาปี 2551
เรื่องจิตตปัญญา ศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ:
โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
เตือนใจ เกียวซี. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการสอนรายวิชาความเป็นครูและการ
พัฒนาวิชาชีพครูด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา. คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ทรงชัย อักษรคิด .(2556). การพัฒนาครูผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ของ
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยใช้
กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง.วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 30
ฉบับที่ 2.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย .(2557). การประเมินโครงการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้
กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 และเขต 39 ร่วมกับ
สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 : วารสารวิชาการและวิจัย
สังคมศาสตร์ : ปี ที่ 9 ฉบับที่ 27กันยายน –ธันวาคม 2557.
ทิศนา แขมมณี. (2543). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:
โมเดลชิปปา. ในพิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ (บรรณานุกรม). ประมวล
บทความนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา (หน้า 1 -22)
กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2537). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิภูมิปัญญา
ร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี
2551 เรื่องจิตตปัญญา ศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์.
กรุงเทพฯ: โครงการ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
เบ็ญจมาศ อินทร์ฤทธิ์ .(2556). การนิเทศการศึกษาด้วยกระบวนการสอนแนะ
(Coaching) และพี่เลี้ยง (Mentoring) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูผู้สอนใน โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้ง
ระบบตามศักยภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and
Mentoring. สืบค้นจาก : https://sites.google.com/site/benjasingburi/
ngan- wicay-coaching-khru-khnit
ประเวศ วะสี. (2551). หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551
เรื่องจิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ:
โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2551). การศึกษาการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนอนุบาล
เอกชน กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา).
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อาจารย์ที่ปรึกษา
สารนิพนธ์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พวงรัตน์ เกสรแพทย์.
พิสิษฐ์ แก้ววรรณะ. (2557). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการ
เรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา: National and international
Conference Interdisciplinary Research For Local Development
Sustainability.
ปรีดา ศรีเศษมาตย์ . (2542). การศึกษาเพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาบุคลากรใน
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด
มหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
ภุชงค์ บุญอภัย .(2557). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียน
ประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียน บ้านมะขาม (สาครมะขามราษฎร์) จังหวัด
จันทบุรี : วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1
เดือนตุลาคม 2556 - มีนาคม 2557
มาเรียม นิลพันธุ. (2557). การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้าง
ระบบพี่เลี้ยง ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต
3.(449-461). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม – เมษายน 2557
สนอง โลหิตวิเศษ. 2546. การศึกษาตลอดชีวิต: กับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตชาวชนบท
(ออนไลน์). สืบค้นจาก:https://edu.swu.ac.th/ae/websnong/web01/
inform.htm [30 ตุลาคม 2549]
สมเกียรติ ทานอก และคณะ. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่
เลี้ยง Coaching and Mentoring: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา
สุพรรณี อาวรณ .(2557). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์
โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27:
วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ 9(2): ก.ค.-ธ.ค. 2557
สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2553). การศึกษาผลการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ แนวจิตตปัญญาศึกษา รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู
นักศึกษาโปรแกรมวิทยาศาสตร์ ทั่วไป. คณะครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช
ภัฏพิบูลสงคราม
สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2554). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียนด้านการ เห็นคุณค่าในตนเอง ด้วยกระบวนการจิตตปัญญา
ศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (ม.ป.ป.). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน. เอกสารทาง
วิชาการ อันดับที่ 3 กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่สำนักพิมพ์วัฒนาพานิชสำราญราษฎร์.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. การสอนแบบ Research Based
Learning.วารสารวิธีวิทยาการ วิจัย 6 (มกราคม-มิถุนายน 2537) : 1-14.
สุเทพ อ่วมเจริญ ประเสริฐ มงคล และวัชรา เล่าเรียนดี (2555). รายงานการวิจัย การ
พัฒนาการสอนวิชา “การพัฒนาหลักสูตร” สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โสภณ แย้มทองคำ. (2552). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็น
ครูของข้าราชการครูทุน โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถ
พิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.). ปริญญานิพนธ์ปรัชญา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2546). “เรียนรู้คู่วิจัย: กรณีการสอนด้วยกระบวนการวิจัย
ภาคสนาม วิชาการศึกษา กับสังคม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน”. พิมพ์ ครั้งที่ 2
กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะครู
นักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ สำหรับข้าราชการครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.
(การศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2547). การสอนแบบเน้นวิจัยโดยใช้สัญญาแห่งการเรียนรู้ ใน
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. หน้า
61-79. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.