การเพิ่มมูลค่าและพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

Main Article Content

kaewmanee utiram
pakamat Butsalee
thipsuda thasedam
Udompong Ketsripongsa

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง และเพื่อพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคล การสนทนากลุ่ม เข้าร่วมกิจกรรมชุมชน การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสังเกต


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง พบว่า 1.1) ผลิตภัณฑ์สามารถฝากจำหน่ายได้ในร้านค้าสวัสดิการของชุมชนเท่านั้น 1.2) ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก 1.3) กลุ่มยังไม่มีช่องทางการจัดจำหน่ายอื่น นอกจากการฝากขายหน้าร้านค้าภายในชุมชน และ 1.4) กลุ่มยังไม่รู้จักวิธีการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ หรือการใช้สื่อดิจิทัล เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และ 2) รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง มีดังนี้ 2.1) กลุ่มมีความรู้เกี่ยววิธีการจำหน่ายสินค้ามากขึ้น 2.2) กลุ่มมีสถานที่จำหน่ายสินค้า 2.3) กลุ่มมีเครือข่ายเพื่อช่วยในการกระจายสินค้าของกลุ่ม 2.4) กลุ่มมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย และ 2.5) กลุ่มมีตราสินค้า และมีช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ โดยใช้ช่องทางแห่งยุคสมัย 4.0 เช่น ไลน์ และเฟสบุ๊ค เพื่อกระตุ้นการรับรู้และการเข้าถึงของผู้บริโภค ทั้งนี้กลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง ได้มีการดำเนินการพัฒนาวิธีการจำหน่ายสินค้า โดยใช้วิธีการจำหน่ายผ่านเฟสบุ๊คที่ชื่อว่า “ข้าวแต๋นกลุ่มแม่บ้านบ้านหัวดง” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กลุ่ม และสินค้าของกลุ่มให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตรความมั่นคงของ
อาหารและพลังงาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http ://www.isranews. org/thaireform-data-
politics/…./365/…./18.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 ตุลาคม 2561).
ชญาดา รุจานุกูลชัย. (2553). การประเมินแนวทางพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์
วิศวกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรม
อุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประภาพร แสงทอง. (2553, มกราคม-มิถุนายน). แนวทางการพัฒนาทางการตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน :
กรณีศึกษาวิสาหกิจแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 3(1), หน้า 1-6.
ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2555, ตุลาคม – มกราคม). การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชน
ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี.วารสารศึกษาศาสตร์. 24(1), หน้า 49-51.
วีรเดช แสงลอย และคณะ. (2550). กลยุทธ์การจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายซิมการ์ดและบัตรเติมเงิน กรณีศึกษา
ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟว์ เซอวีส จำกัด [มหาชน]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.